ท่องเที่ยวในประเทศ
ภาคกลาง
วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
วัดวังก์วิเวการาม หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "วัดหลวงพ่ออุตตมะ" นอกจาก จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอสังขละบุรีแล้ว ยังเป็นวัดที่ถือว่ามีความ สำคัญมากสำหรับคนท้องถิ่น และเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนหลายเชื้อชาติที่อาศัย อยู่ในอำเภอสังขละบุรี ทั้งชาวไทยและกะเหรี่ยง โดยเฉพาะสำหรับชาวไทยเชื้อสาย มอญ ที่เปรียบหลวงพ่ออุตตมะเป็น "เทพเจ้าแห่งชาวมอญ" วัดวังก์วิเวการาม จึงเกิดจากพลังศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อ และเป็นวัดที่เคยเป็นที่จำพรรษาของ "หลวงพ่ออุตตมะ" วัดจึงเป็นเสมือนตัวแทนหลวงพ่อ และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชาวมอญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีของชาวมอญ
วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย
วัดสังกัสรัตนคีรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดเขาสะแกกรัง” โดยมีพระสุนทรมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานีเป็นผู้จัดสร้างขึ้น ตั้งอยู่บนยอดและไหล่เขาสะแกกรัง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่มีชื่อเสียง ที่ชาวอุทัยธานีให้ความเคารพและศรัทธาเป็นอย่างมาก
สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
"สะพานข้ามแม่น้ำแคว” สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของจังหวัด กาญจนบุรี เป็นสะพานของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานเหล็กสัญลักษณ์ของเมืองกาญจนบุรี ซึ่งได้จารึกเรื่องราวแห่งประวัติศาตร์ ไว้มากมาย ถ้าไม่ได้มาเหยียบบนสะพานนี้ถือว่ายังมาไม่ถึงกาญจนบุรีเลยทีเดียว
สะพานมอญ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
สังขละบุรี เป็นชื่อของอำเภอที่อยู่ติดกับชายแดนฝั่งประเทศพม่า ห่างจากตัว เมืองกาญจนบุรีประมาณ 215 กิโลเมตร เมืองแห่งสายน้ำ ขุนเขา และผืนป่าอัน อุดมสมบูรณ์ เมืองที่มีความงามหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของผู้คน ต่างเผ่าพันธุ์ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง ไทย ลาว และพม่า เมืองชายแดนแห่งนี้รายล้อม ไปด้วยธรรมชาติและขุนเขาอันเขียวขจี โดยตัวอำเภอ ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า "สามประสบ" คือบริเวณที่ลำน้ำสามสายอันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบิคลี่ และห้วยรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแควน้อย ซึ่งมีแม่น้ำซองกาเลียจาก ต้นกำเนิดในประเทศพม่าไหลพาดผ่านอำเภอสังขละบุรี หล่อเลี้ยงผู้คนสองฟากฝั่ง แม่น้ำ และเชื่อมสัมพันธ์ชนชาติมอญของทั้งสองประเทศเข้าไว้ด้วยกัน มาตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน
วัดถ้ำเขาวง จังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย
วัดถ้ำเขาวง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ เป็นเขาขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอไป 12 กิโลเมตร ธรรมสถานเพื่อปฎิบัติธรรมที่อยู่บนเขา ลักษณะเป็นศาลาทรงไทยประยุกต์ 4 ชั้น สร้างด้วยไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้าน รวมถึงไม้เก่าจากเรือนไทยที่มาจากหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลำพูน นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษ คือ ในอาคารเดียวกัน มีศาลา วิหาร กุฎิ หอระฆัง และโบสถ์เสร็จในหนึ่งเดียว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ได้มาชมวัดแห่งนี้ เมื่อดูเผินๆ ภายนอกจะเห็นเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยเขาหินปูนสูงตระหง่าน เสมือนเป็นรีสอร์ทหรือที่พักสุดหรู แต่แท้ที่จริงแล้วที่นี่เป็นศาสนสถาน ที่ให้ผู้คนที่เลื่อมใสได้เข้ามาทำสมาธิ เจริญภาวนา และเคารพสักการะองค์พระพุทธรูปต่างๆ ที่ประดิษฐานอยู่โดยรอบวัด มีบ่อน้ำและสวนตกแต่งด้วยหินไม้ดัด และไม้ประดับ มูลค่าในการก่อสร้างกว่า 30 ล้านบาทเลยทีเดียว
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย
"วัดจันทาราม" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "วัดท่าซุง" เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปาก เนื่องจากในอดีตบริเวณนี้ เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญและมีการล่องซุงกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแพซุงก็มักจะแวะหยุดพักกันที่หน้าวัดนี้ และต่อจากนั้นวัดก็ไม่ได้บูรณะมานานถึง 47 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2511 พระราชพรหมยาน หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้มาริเริ่มบูรณะวัดอีกครั้ง และได้สร้างอาคารต่างๆ มากมายที่ประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร โดยจิตรกรฝีมือดี ทำให้วัดท่าซุงแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เลื่องชื่อในด้านความงดงาม ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นของสถาปัตยกรรม ที่ถูกสร้างด้วยความประณีตตั้งอยู่ภายในวัด รวมไปถึงแรงศรัทธาต่อ "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ" ที่ชาวอุทัยธานีให้ความเคารพนับถือกันมาช้านานวัดจันทารามหรือวัดท่าซุงแห่งนี้ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดอุทัยธานีที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่ง ที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง