ค้นหา :
พระอิศวร จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย
พระอิศวร (Shiva Shrine) เป็นเทพเจ้าที่เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก และในเมืองกำแพงเพชรก็มีเทวรูปพระอิศวรคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเทวรูปองค์จริงถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร และได้มีการประดิษฐานองค์จำลองไว้ที่ศาลพระอิศวรในเขตกำแพงเมืองโบราณ เชื่อกันว่าพระอิศวรมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดยในทุกวันสงกรานต์จะมีการบวงสรวงและสรงน้ำพระอิศวรทุกปี
เทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
เทวสถานปรางค์แขก (Prang Khaek) เป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดในลพบุรี คาดว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ ที่ไม่เชื่อมต่อกัน ตัวพระปรางค์ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน หันหน้าออกทางทิศตะวันออก เรียงตัวกันตามแนวทิศเหนือไปใต้ องค์ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางซึ่งมีความสูงใหญ่กว่าปรางค์บริวารองค์ซ้ายและขวา โดยแต่ละปรางค์มีทางเข้าเพียงประตูเดียว ส่วนที่เหลืออีก 3 ประตู เป็นประตูหลอกที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม โดยเทวสถานปรางค์แขกยังนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปรางค์แขก” อีกด้วย
อุทยานพระพิฆเนศ จังหวัดนครนายก ประเทศไทย
อุทยานพระพิฆเนศ (Ganesha Park) โดดเด่นด้วยเทวรูปองค์พระพิฆเนศปางไสยาสน์ประทานพรและปางนั่งประทานพรและขนาดใหญ่ เป็นเทวสถานศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อีกทั้งพระพิฆเนศยังเป็นเทพที่ชาวไทยจำนวนมากให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก ที่นี่จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครนายกที่มีผู้คนแวะเวียนมาเที่ยวชม สักการะ และขอพรอยู่เสมอ โดยวิธีการขอพรจากพระพิฆเนศเราจะต้องกระซิบขอผ่านหูหนูมุสิกะ ซึ่งเชื่อกันว่าหนูมุสิกะเป็นบริวารผู้ดูแลต้นห้องขององค์พระพิฆเนศ จากนั้นหนูมุสิกะจะนำความต้องการของเราไปทูลองค์พระพิฆเนศให้อีกทีหนึ่ง
พรัมบานัน เทวสถานของศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย
พรัมบานัน เทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในเขตชวากลาง สร้างขึ้นในราว ค.ศ.847 เพื่ออุทิศถวายแด่เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์ของศาสนาฮินดู ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งสร้างขึ้นด้วยหินและมีความสูงถึง 47 เมตร ภายในบริเวณวัดมีเทวลัยหลัก 8 หลังอยู่ตรงกลาง รายล้อมด้วยเทวลัยขนาดเล็กเป็นบริวารอีกมากกว่า 200 หลัง และมีแนวกำแพงล้อมรอบ ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงความความยิ่งใหญ่ ความงาม และความสำคัญของศาสนาฮินดูในอดีต จนได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ.1991
แท็ก
แท็กท่องเที่ยวอื่นๆที่คุณอาจสนใจ