ท่องเที่ยวในประเทศ
ภาคกลาง
ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย
ตลาดน้ำอัมพวา (Amphawa Floating Market) เป็นตลาดน้ำที่เก่าแก่และโด่งดังเป็นอันดับต้นๆ มาอย่างยาวนานของเมืองไทย ตลาดริมคลองแห่งนี้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดสมุทรสงคราม และเป็นตลาดน้ำที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก
โครงการอัมพวา – ชัยพัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย
โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ (Amphawa – The Chaipattana Nurak) เป็นโครงการน่าสนใจของมูลนิธิชัยพัฒนา ด้วยพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระประสงค์จะพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้าน และอนุรักษ์วิถีการดำเนินชีวิตของชาวอัมพวา
คลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย
คลองโคน (Klongkone) เป็นชุมชนเล็กๆ ตั้งอยู่ติดกับปากอ่าวในตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามที่มีการจัดการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวพักผ่อน เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้าน และศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลนอย่างใกล้ชิดและเพลิดเพลิน
พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
พระปรางค์สามยอด (Phra Prang Sam Yod) เป็นโบราณสถานที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อเป็นพุทธสถานลัทธิวัชรยานแห่งเมืองละโว้ ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรเขมร พระปรางค์สามยอดมีลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน 3 องค์ เชื่อมกันด้วยมุขกระสัน วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าออกทางทิศตะวันออก โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น ด้านหน้ามีวิหารที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
วัดถ้ำเสือ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
วัดถ้ำเสือ (Wat Tham Suea) เป็นวัดดังอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อชินประทานพรซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัด โดยองค์พระพุทธรูปนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาและบริเวณใกล้กันยังมีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก เช่น พระเจดีย์เกศแก้วมหาปราสาทและพระอุโบสถ โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคเพื่อขึ้นไปสักการะได้ หรือหากไม่สะดวกก็มีรถรางขึ้นเขาให้บริการอีกด้วย
ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
ศาลพระกาฬ (Phra Kan Shrine) เป็นศาลที่ชาวลพบุรีให้ความเคารพศรัทธากันมาอย่างช้านาน ศาลแห่งนี้เป็นเทวสถานสูง สร้างด้วยศิลาแลงซ้อนกันเป็นศาลสูงตามแบบขอมในช่วงพุทธศตวรรตที่ 16 ภายในประดิษฐานเจ้าพ่อพระกาฬ และมีเทวรูปพระนารายณ์ประทับยืน 2 องค์ โดยองค์เล็กเป็นเทวรูปเก่าในแบบไทย ส่วนองค์ใหญ่สร้างด้วยประติมากรรมแบบลพบุรี แต่ไม่มีเศียร จึงนำพระเศียรของพระพุทธรูปศิลาทรายในสมัยอยุธยามาต่อไว้ ในบริเวณศาลพระกาฬยังมีฝูงลิงอาศัยอยู่จำนวนมากอีกด้วย