- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- ๙ วัดคู่บ้านคู่เมืองราชวงศ์จักรี ประเทศไทย
๙ วัดคู่บ้านคู่เมืองราชวงศ์จักรี ประเทศไทย
- อ่าน (4,250)
- ByWebmaster
- 16:10:30 | 13 ก.ค. 2564
๙ วัดคู่บ้านคู่เมืองราชวงศ์จักรี ประเทศไทย
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีไทย ทุกพระองค์ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภกในทุกศาสนา รวมถึงศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ จึงทรงโปรดให้มีการสร้างวัดประจำพระองค์ขึ้น ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา โดยบางวัดพระมหากษัตริย์อาจไม่ได้เป็นผู้สร้าง ทว่าทรงเกี่ยวข้องกับการบูรณะวัด หรือทรงรับวัดไว้ในพระอุปถัมภ์ และมีความผูกพันกับวัดนั้นเป็นพิเศษ ก็ถือเป็นวัดประจำรัชกาลเช่นเดียวกัน
แผนที่แสดงตำแห่งของ 9 วัดคู่บ้านคู่เมืองราชวงศ์จักรี
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 1
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (Wat Phra Chetuphon Vimolmangklararm Rajworamahavihara) หรือวัดโพธิ์ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ในอดีตวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร มีชื่อเรียกว่า “วัดโพธาราม” หรือ ”วัดโพธิ์” ตามประวัตินั้นสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ เมื่อการบูรณะเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามศาลา โดยเฉพาะตำราแพทย์แผนโบราณซึ่งเป็นที่มาของการนวดแผนโบราณที่ขึ้นชื่อของวัดโพธิ์ และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" ดังที่เรียกกันมาจนถึงในปัจจุบัน
การเดินทาง
- รถประจำทาง สาย 1, 3, 4, 6, 9, 12, 25, 32, 44, 47, 48, 53 และ 82
- เรือด่วนเจ้าพระยา ลงที่ท่าเตียน จากนั้นเดินต่ออีกประมาณ 200 เมตร ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท
พิกัด GPS : 13°44'47.8"N 100°29'35.2"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=78
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 2
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือวัดแจ้ง เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ วัดอรุณฯ สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี มีจุดเด่นที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร คือพระปรางค์สีขาวซึ่งตั้งโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณฯ ยังเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานภายในบริเวณวัดอรุณราชวรารามด้วย
การเดินทาง
- รถประจำทาง สาย 1, 3, 4, 6, 9, 12, 25, 32, 44, 47, 48, 53 และ 82 โดยลงรถบริเวณท่าเตียน จากนั้นขึ้นเรือข้ามฟากมายังท่าวัดอรุณ
- เรือด่วนเจ้าพระยา ลงเรือที่ท่าเตียน จากนั้นขึ้นเรือข้ามฟากมายังท่าวัดอรุณ ค่าโดยสารเรือด่วนเริ่มต้นที่ 15 บาท และค่าเรือข้ามฟาก 3.50 บาท
พิกัด GPS : 13°44'37.3"N 100°29'19.1"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=85
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 3
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร (Wat Ratcha Orasaram Ratchaworawihan) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณอายุสองร้อยกว่าปี มีความแตกต่างจากวัดอื่นๆ ตรงที่มีการนำศิลปะจีนมาผสมผสานกับศิลปะไทยในการออกแบบตกแต่งอาคารต่างๆ ภายในวัด ซึ่งมีความสวยงามวิจิตรบรรจงและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัดแห่งนี้ นอกจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้มีโอกาสสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดแล้ว ยังสามารถเที่ยวชมสถาปัตยกรรมและศิลปะการตกแต่งต่างๆ ภายในวัดได้อย่างเพลิดเพลินอีกด้วย
การเดินทาง
- รถยนต์ (Car) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยัง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
- ขนส่งสาธารณะ (Public transport) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสมาลงที่สถานีสยาม เพื่อเปลี่ยนขบวนขึ้นสายสีลม ไปลงสถานีวุฒากาศ และเดินต่อไปยัง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
พิกัด GPS : 13°42'10.3"N 100°27'51.5"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=467
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 4
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร (Ratchapradit Sathit Maha Simaram Ratcha Wora Maha Wihan Temple) เป็นอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่ที่ถนนสราญรมณ์ เขตพระนคร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2407 วัดแห่งนี้จึงถือเป็นวัดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของไทย ภายในวัดมี "พระพุทธสิหิงคปฏิมากร" เป็นองค์พระประธาน จำลองจากองค์จริงที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
การเดินทาง
- เรือ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือด่วนมาลงที่ท่าเตียน จากนั้นเดินมาวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ระยะทางประมาณ 900 เมตร ใช้เวลาประมาณ 11 นาที
- รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร คือ รถประจำทางสาย 2, 60 รถปรับอากาศสาย ปอ.1, ปอ.2, ปอ.512
พิกัด GPS : 13°44'58.6"N 100°29'44.0"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=190
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 7
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรมหาวิหาร (Ratchabophit Sathit Maha Simaram Ratcha Wora Maha Wihan Temple) พระอารามหลวงชั้นเอก เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 7 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ วัดแห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และเคยเป็นที่พำนักของสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะหลายรูป วัดราชบพิตรฯ ตั้งอยู่บริเวณถนนเฟื่องนคร เขตพระนคร โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นวัดประจำรัชกาล เมื่อปี พ.ศ. 2412 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 7 มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ก็ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุงและโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวัดแห่งนี้นับเป็นพระอารามหลวงแห่งสุดท้ายที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี และเป็นที่ตั้งของสุสานหลวง
การเดินทาง
- เรือ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือด่วนมาลงที่ท่าเตียน จากนั้นเดินมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร ระยะทางประมาณ 900 เมตร ใช้เวลาประมาณ 11 นาที
- รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร คือ สาย 2, 60
พิกัด GPS : 13°44'56.7"N 100°29'49.3"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=187
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 6
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร (Bowon Niwetwihan Ratchaworawihan Temple) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อว่า “วัดใหม่” ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล วังหน้าสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏสมมติเทวาวงศ์ ทรงเสด็จมาครองวัดนี้ โดยพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดบวรนิเวศวิหาร” พร้อมตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายและบูรณะพระอุโบสถ ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดรังสีสุทธาวาสและวัดบวรนิเวศราชวรวิหารเข้าด้วยกัน วัดแห่งนี้มีความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ รวมทั้งมีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
การเดินทาง
- เรือ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยเรือ จากท่าพระอาทิตย์ เดินมาวัดบวรนิเวศราชวรวิหารระยะทางประมาณ 750 เมตร ใช้เวลาประมาณ 9 นาที
- รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหารคือ สาย 3, 9, 64, 65, 53, 56, 68
พิกัด GPS : 13°45'37.5"N 100°29'59.2"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=188
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 8
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร (Suthat Thep Wararam Ratchaworamahawihan Temple) เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2350 เดิมทีพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โดยมีพระราชประสงค์จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง เพื่อเป็นเกียรติแก่พระนคร และเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยการสร้างวัดสุทัศนฯ เสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2390 และพระราชทานนามว่า วัดสุทัศนเทพวราราม ภายในวัดสุทัศนฯ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี
การเดินทาง
- รถประจำทาง มีรถประจำทางที่ผ่านวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารคือ รถประจำทางสาย 10, 12, 15, 19, 35, 42, 48, 73, 96
พิกัด GPS : 13°45'03.4"N 100°30'03.2"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=191
วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก - วัดประจำรัชกาลที่ 9
วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก (Wat Phra Ram 9 Kanchanaphisek) เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9 วัดเล็กๆ ที่มีสถาปัตยกรรมเรียบง่ายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระอุโบสถเครื่องบนทำอย่างไทย ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นปูนปั้นสีขาว หน้าบันเป็นปูนปั้นลายดอกพุดตาน ปิดทองเฉพาะที่ตราพระราชลัญจกร วัดแห่งนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อพ.ศ. 2539 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ขึ้นเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
การเดินทาง
วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ตั้งอยู่ที่ซอย 19 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง ห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 15 - 20 นาที รถประจำทางสายที่ผ่านคือ 137, 168 ลงป้ายก่อนถึงเลียบทางด่วนรามอินทรา อาจณรงค์ แล้วต่อมอเตอร์ไซด์เข้าไปวัด ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงที่ป้ายพระรามเก้า แล้วต่อมอเตอร์ไซด์มายังวัดเช่นกัน
พิกัด GPS : 13°45'35.5"N 100°35'36.9"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=539
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร - วัดประจำรัชกาลที่ 10
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (Wat Vachiratham Satit Worawihan) เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 10 ที่นับได้ว่ามีความเป็นมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ โดยวัดแห่งนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 แต่ครั้งทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ภายในวัดมีพระอุโบสถที่สวยงาม ประตู หน้าต่างทำด้วยไม้สักแกะสลักอย่างวิจิตรงดงามโดยฝีมือช่างชาวเหนือ จุดเด่นสำคัญคือพระเจดีย์จุฬามณีศรีล้านนาความกว้าง 25 ศอก 9 นิ้ว ความสูง 49 ศอก ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 25 องค์ พระธาตุอรหันตสาวก 289 องค์ และพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์
การเดินทาง
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร ตั้งอยู่ในซอย 101/1 สุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง ห่างจากอนุสาวรีย์ชัย 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 28 นาที รถประจำทางสายที่ผ่านคือ 206, 145 ลงป้ายพาราไดซ์พาร์ค แล้วต่อมอเตอร์ไซด์เข้าไปวัด ส่วนรถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีพระโขนง แล้วต่อมอเตอร์ไซด์มายังวัดเช่นกัน
พิกัด GPS : 13°41'28.1"N 100°38'05.8"E
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร ได้ที่ : https://palanla.com/index.php?op=domesticLocation-detail&id=540
ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com/
เว็บไซต์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ http://www.bmta.co.th/?q=home
เว็บไซต์รถไฟฟ้าบีทีเอส https://www.bts.co.th
เว็บไซต์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย https://www.mrta.co.th/th/
เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร http://www.bangkok.go.th/main/index.php?l=th
เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org/Home
แอปพลิเคชันแนะนำสำหรับเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ในประเทศไทย
- Grab สามารถดาวน์โหลดได้ที่ App Store (iOS) และ Play Store (Android)
อัตราค่าบริการแท็กซี่ (TAXI FARE)
อัตราค่าครองชีพ (DAILY COST)
สภาพอากาศ (WEATHER)
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
พิจิตร จังหวัดเล็กๆ ที่ซ่อนเสน่ห์เอาไว้มากมาย และไม่ได้มีแค่บึงสีไฟเพียงอย่างเดียว เพราะเมืองชาละวันแห่งนี้มีทั้งธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ วัดวาอารามเก่าแก่ และวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นที่น่าสนใจ บทความนี้ Palanla จะพาไปเปิดมุมมองใหม่กับ 10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนพิจิตร
อ่านต่อวัดหิรัญญาราม (วัดบางคลาน) จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
วัดหิรัญญาราม (Wat Hiranyaram) หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในชื่อ วัดบางคลาน (Wat Bang Khlan) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่รู้จักจาก หลวงพ่อเงิน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีผู้คนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก
อ่านต่ออุทยานเมืองเก่าพิจิตร จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร (Pichit Historical Park) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด เชื่อกันว่าเดิมทีบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า
อ่านต่อวัดนครชุม จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
วัดนครชุม (Wat Nakhon Chum) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยเคยเป็นวัดสำคัญของเมืองพิจิตรในอดีต
อ่านต่อวัดเขารูปช้าง จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
วัดเขารูปช้าง (Wat Khao Rup Chang) อีกหนึ่งวัดเก่าแก่ของจังหวัดพิจิตรที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันเป็นรูปช้างคุกเข่าโดดเด่นด้วยเจดีย์แบบลังกา ประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์
อ่านต่อทุ่งดอกกระเจียวยักษ์บ้านเขาโล้น จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ทุ่งดอกกระเจียวยักษ์บ้านเขาโล้น (Giant Siam Tulip Field Baan Khao Loan) ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เมื่อดอกกระเจียวสีชมพูบานสะพรั่งทั่วทั้งทุ่ง
อ่านต่อตลาดย่านเก่าวังกรด จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ตลาดย่านเก่าวังกรด ( Yan Kao Wang Krot Market) ตลาดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ณ ย่านเก่าวังกรด จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งรวมอาหารอร่อยที่เรียงรายด้วยสถาปัตยกรรมอาคารไม้เก่าแก่สวยงาม พร้อมทั้งหอนาฬิกาที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของชุมชน
อ่านต่อน้ำตกไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
น้ำตกไทรโยคใหญ่ (Sai Yok Yai Waterfall) เปรียบเสมือนอัญมณีแห่งเมืองกาญจนบุรี ด้วยความงามของม่านน้ำอันยิ่งใหญ่ที่ไหลรินลงมาจากหน้าผาสูงและกลายเป็นสายน้ำที่ทอดยาว รายล้อมไปด้วยป่าไม้ร่มรื่น ที่นี่จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี
อ่านต่อต้นจามจุรียักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
ต้นจามจุรียักษ์ (Giant Monkey Pod Tree) อายุกว่า 100 ปี ที่ยืนตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่ผู้คนที่มาพักผ่อนหย่อนใจ คืออีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน
อ่านต่อคู่มือการดำเนินการตามกระบวนการเคลมประกันรถยนต์ฉบับสมบูรณ์
การมีส่วนร่วมในอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือประสบความเสียหายต่อยานพาหนะของคุณอาจเป็นประสบการณ์ที่ตึงเครียดและท่วมท้น อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและแก้ไขปัญหาได้ราบรื่นยิ่งขึ้น
อ่านต่อ