ปราสาทนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

  • อ่าน (6,298)
  • ByWebmaster
  • 15:11:38 | 13 ก.ค. 2564

ปราสาทนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

Prasat Nakhon Luang, Ayutthaya Province, Thailand

             ปราสาทนครหลวง (Prasat Nakhon Luang) อีกหนึ่งโบราณสถานทรงคุณค่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก อำเภอนครหลวงโบราณสถานแห่งนี้ในประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่าพระมหากษัตริย์แทบทุกพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ได้เสด็จผ่านและเคยเสด็จมาประทับที่นี่


ประวัติ

             ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง (อังกอร์) ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ปราสาทนครหลวงสร้างไม่แล้วเสร็จในสมัยนั้น ต่อมาราวปี พ.ศ. 2352 ตาปะขาวปิ่น ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้นโดยเอาปราสาทนครหลวง เข้าไปไว้ในเขตของวัดด้วย และมีการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานไว้บนลานชั้นบนของปราสาท

             การบูชาพระพุทธบาทสี่รอยเป็นคตินิยมของชาวพุทธฝ่ายหินยาน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรพุกามในสหภาพพม่า  พระพุทธบาทสี่รอยเป็นสัญลักษณ์ให้รำลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้ว 4 พระองค์ คือ พระกกุกสันโธ พระโกนาคม  พระกัสสป  แลพระสมณโคดม

             จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่าวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาท เป็นการสร้างเพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิม ปราสาทนครหลวง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตามประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติในชื่อ “พระนครหลวง”

             โบราณสถานปราสาทนครหลวง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ตัวปราสาทพระนครหลวง และศาลาพระจันทร์ลอย ซึ่งร่องรอยพระตำหนักที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


ปราสาทพระนครหลวง
 เป็นอาคารก่ออิฐสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 3 ชั้น ชั้นแรกมีขนาด 81 x 94 เมตร สูงจากพื้นเดิน 4 เมตร ชั้นที่สองขนาด 67 x 75 เมตร สูงจากพื้นชั้นแรก 4 เมตร เช่นเดียวกัน ชั้นที่สามขนาด 46 x 48 เมตร สูงจากพื้นชั้นที่สูง 3.5 เมตร จากการขุดแต่งเพื่อการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2534 พบว่าแกนในของฐานแต่ละชั้นก่อด้วยดินอัดแน่นจนถึงพื้นแล้วก่ออิฐเป็นเอ็นยึดขนาดกว้าง 80 เซนติเมตร สานกันเป็นแฉกทั่วพื้นที่ตรงมุมและทิศทั้ง 4 ที่ระเบียงคดทุกชั้นทำเป็นปรางค์  บริวารชั้นแรกมี 10 องค์ ชั้นที่สอง 12 องค์ และชั้นที่สาม 8 องค์  รวมทั้งสิ้น 30 องค์  ลักษณะปรางค์แต่ละองค์มีแบบแปลนแผนผังเหมือนๆ กัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 8.4 เมตร ย่อมุมไม้ยี่สิบ  ก่อเป็นฐานเขียง 2 ชั้น แล้วขึ้นฐานบัวลูกแก้วอกไก่คู่รองรับเชิงบาตรและตัวเรือนธาตุตามลำดับ ส่วนยอดทำเป็นชั้น 5 ชั้น ภายในองค์ปรางค์ประดิษฐานพระพุทธรูปปรางค์ละ 2 องค์ ยกเว้นปรางค์หมายเลข 7, 18 และ 26 ที่ต้องใช้เป็นเนื้อที่ของประตู

             ระเบียงคด  อาคารเชื่อมต่อระหว่างปรางค์ของแต่ละชั้นก่อผนังด้านนอกตัน แต่ทำช่องหน้าต่างปลอมเลียนแบบช่องลูกมะหวดคล้ายศิลปะสถาปัตยกรรมที่นิยมทำกันในเขมร สมัยนครวัด ช่วงฐานก่อล้อกับการขึ้นรูปของฐานปรางค์ คือ  ทำเป็นฐานเขียง 2 ชั้น  แล้วขึ้นฐานลูกแก้วอกไก่ ส่วนผนังด้านในก่อโปร่งทำเป็นเสาสี่เหลี่ยมปาดมุม ปลายเสาเป็นบัวหงาย มีหน้ากระดานรองรับระหว่างช่วงเสาก่อกำแพงหลังเจียดเตี้ยๆ โดยตลอด หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผาแบบลอนโค้ง ด้านนอกลด 2 ตับ  ด้านในลด 3 ตับ  ภายในระเบียงมีฐานชุกชี ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งหันพระพักตร์สู่องค์ปรางค์ประธานทุกด้านทุกชั้น

             ประตูทางเข้าขึ้นบนปราสาท ชั้นแรกมี 9 ประตู ชั้นที่สอง 12 ประตู และชั้นบน อีก 9 ประตู รวมทั้งสิ้น 30 ประตู

             ท่อระบายน้ำ ทำเป็นช่องสามเหลี่ยมสำหรับน้ำไหลลงพื้นข้างล่าง รวม 40 จุด

             มีหลักฐานอยู่หลายประการ เช่น การฉาบปูนที่ผนังปรางค์และระเบียงเพียงการรองพื้นบางๆ ยังไม่ได้ตบแต่งฉาบผิวบันไดทางขึ้นบางแห่งยังไม่ได้ก่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อเสด็จประพาสมณฑลอยุธยาในปี พ.ศ. 2421 ทรงพระราชนิพนธ์ถึงปราสาทแห่งนี้ว่า “…คงสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นแน่  จนบันไดก็ได้ก่อบ้างไม่ได้ก่อบ้างเป็นแต่ชักอิฐไว้  ตัวปรางค์กลางนั้น เห็นจะยังไม่ได้ก่อขึ้นเป็นแน่…” ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานที่เชื่อได้ว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างปราสาทนครหลวงไม่แล้วเสร็จ

             พระตำหนักที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองแวะประทับสำราญพระราชอิริยาบถ เวลาเสด็จโดยขบวนพยุหยาตราชลมารคเมื่อถึงเทศกาลนบพระพุทธบาทนั้น ปัจจุบันคือสถานที่บริเวณศาลาพระจันทร์ลอยซึ่งตั้งอยู่ถัดท่าน้ำเข้าไปเพียงเล็กน้อย จากงานขุดแต่งขุดค้นสถานที่แห่งนี้พบว่า อาคารจัตุรุมุขได้สร้างทับซ้อนลงบนอาคารพื้นปูอิฐ หลังคามุงกระเบื้อง ซึ่งน่าเชื่อถือว่าเป็นศาลาโถงที่ประทับชั่วคราวของขบวนเสด็จพยุหยาตราของพระเจ้าปราสาททอง


ศาลาพระจันทร์ลอย
 เป็นอาคารทรงจัตุรมุขลงบนสถานที่ที่เชื่อว่าเดิมคือ พระตำหนักนครหลวงของพระเจ้าปราสาททอง ศาลาหลังนี้สร้างขึ้นประดิษฐานพระจันทร์ลอย (แผ่นหินรูปกลมคล้ายเสมาธรรมจักร  แกะจากหินแกรนิต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.35 เมตร  หนา 20 เซนติเมตร ด้านหน้าตอนบน แกะสลักพระพุทธรูปนูนต่ำ ขนาดเล็กจำนวน 3 องค์  และเจดีย์ด้านข้างพระพุทธรูปอีกด้านละองค์  ด้านล่างแกะลาย  ตรงกลางลายทำเป็นรูปภาพต่างๆ ที่พอมองเห็นได้ชัดคือรูปปลา 2 ตัว นอกนั้นค่อนข้างลบเลือนมองไม่ชัด)

             ชาวบ้านเล่าขานกันว่าแผ่นหินพระจันทร์ลอยนี้ เดิมทีลอยน้ำมาตามแควป่าสัก มีผู้พบเห็นครั้งแรกที่บ้านศิลาลอย ตำบลศาลาลอย อำเภอท่าเรือ ประชาชนในท้องถิ่นนั้นได้พยายามนำขึ้นจากน้ำแต่ไม่สามารถฉุดขึ้นได้  แผ่นหินจึงลอยน้ำเรื่อยมาจนถึงวัดเทพจันทร์ ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันลงไปฉุดเพื่อจะนำไปไว้ที่วัด แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สมภารวัดเทพจันทร์ผู้เรืองวิชามีอาคมในย่านนั้นรู้เรื่องเข้าจึงนำด้ายสายสิญจน์ 3 เส้น ลงไปคล้องแล้วฉุดขึ้นไปไว้ที่วัดได้โดยง่ายดาย พระจันทร์ลอยจึงได้ประดิษฐานที่วัดนี้อยู่ชั่วระยะหนึ่งจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงมหาดไทยจึงได้นำส่งไปเก็บไว้ที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร

             เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบเรื่องพระปลัดปลื้มบูรณซ่อมแซมแปลงปราสาทนครหลวง ตามหนังสือกระทรวงธรรมาการกราบบังคมทูลแล้ว ทรงมีพระราชกระแสว่า “อนึ่ง พระจันทร์ลอยซึ่งกระทรวงมหาดไทยนำมาอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร นั้น ก็ไม่อัศจรรย์อะไร ถ้าให้พระปลัดปลื้มรับกลับไปตั้งไว้ที่วัดพระนครหลวงนี้ คนเห็นจะตื่นกันบูชา เห็นจะเป็นเครื่องนำมาซึ่งทรัพย์สมบัติสำหรับก่อสร้าง ดีกว่าอยู่กรุงเทพฯ ยอมอนุญาตให้นำกลับคืนไป

             พระจันทร์ลอยจึงกลับมาสู่ถิ่นเดิมอีกครั้งหนึ่ง แม้จะไม่ใช่สถานที่เดิมคือ วัดเทพจันทร์ แต่ศาลาพระจันทร์ลอยภายในบริเวณปราสาทพระนครหลวงแห่งนี้ ก็ห่างจากวัดเทพจันทร์เพียงไม่กี่ร้อยเมตร


ร่องรอยทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ของปราสาทนครหลวง


ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาทนั้นเป็นการสร้างเพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับของกษัตริย์


ระเบียงเชื่อมต่อระหว่างปรางค์ของแต่ละชั้น ทำช่องหน้าต่างปลอมคล้ายศิลปะสถาปัตยกรรมที่นิยมทำกันในเขมรสมัยนครวัด


พระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานอยู่บนลานชั้นบนของปราสาท


การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากกรุงเทพมหานคร

             - รถยนต์ (Car/ Bus) การเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระยะทาง 80 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที    

             - รถไฟ (Train) การเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที    


การเดินทางไปปราสาทนครหลวง

             ปราสาทนครหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ที่ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง ห่างจากตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาราว 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 25 – 30 นาที


เวลาทำการเปิด– ปิด

             เปิดทุกวัน เวลา 6.00 – 18.00 น.


อัตราค่าเข้าชม

             ไม่เสียค่าเข้าชม


บรรยากาศโดยรอบปราสาทนครหลวง


สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยว

             ชมร่องรอยทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ของปราสาทนครหลวง และศาลาพระจันทร์ลอย อาคารทรงจัตุรมุขบนสถานที่ที่เชื่อว่าเดิมคือ พระตำหนักนครหลวงของพระเจ้าปราสาททอง


ปราสาทนครหลวงมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 3 ชั้น


รอยพระพุทธบาท


มอม เป็นสัตว์ในจินตนาการ รูปร่างคล้ายราชสีห์ผสมมังกร มักปั้น​เพื่อใช้ประดับพุทธสถาน 


เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว

             ตลอดทั้งปี


             
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม ปราสาทนครหลวง สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

                         ปราสาทนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

                         (Prasat Nakhon Luang, Ayutthaya Province, Thailand)

                         ระดับความนิยม :

                         อัตราค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม   

                         เวลาเปิด – ปิด : เปิดทุกวัน เวลา 6.00 – 18.00 น.

                         ตั้งอยู่ที่ : ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                         โทรศัพท์ : -

                         เว็บไซต์ : -

                         ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com

                                         เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา http://ww2.ayutthaya.go.th/frontpage

                                         เฟซบุ๊คการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://www.facebook.com/TatAyutthaya/

 

สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ

10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

พิจิตร จังหวัดเล็กๆ ที่ซ่อนเสน่ห์เอาไว้มากมาย และไม่ได้มีแค่บึงสีไฟเพียงอย่างเดียว เพราะเมืองชาละวันแห่งนี้มีทั้งธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ วัดวาอารามเก่าแก่ และวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นที่น่าสนใจ บทความนี้ Palanla จะพาไปเปิดมุมมองใหม่กับ 10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนพิจิตร

อ่านต่อ

วัดหิรัญญาราม (วัดบางคลาน) จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

วัดหิรัญญาราม (Wat Hiranyaram) หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในชื่อ วัดบางคลาน (Wat Bang Khlan) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่รู้จักจาก หลวงพ่อเงิน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีผู้คนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก

อ่านต่อ

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร (Pichit Historical Park) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด เชื่อกันว่าเดิมทีบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า

อ่านต่อ

วัดนครชุม จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

วัดนครชุม (Wat Nakhon Chum) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยเคยเป็นวัดสำคัญของเมืองพิจิตรในอดีต

อ่านต่อ

วัดเขารูปช้าง จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

วัดเขารูปช้าง (Wat Khao Rup Chang) อีกหนึ่งวัดเก่าแก่ของจังหวัดพิจิตรที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันเป็นรูปช้างคุกเข่าโดดเด่นด้วยเจดีย์แบบลังกา ประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์

อ่านต่อ

ทุ่งดอกกระเจียวยักษ์บ้านเขาโล้น จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

ทุ่งดอกกระเจียวยักษ์บ้านเขาโล้น (Giant Siam Tulip Field Baan Khao Loan) ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เมื่อดอกกระเจียวสีชมพูบานสะพรั่งทั่วทั้งทุ่ง

อ่านต่อ

ตลาดย่านเก่าวังกรด จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

ตลาดย่านเก่าวังกรด ( Yan Kao Wang Krot Market) ตลาดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ณ ย่านเก่าวังกรด จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งรวมอาหารอร่อยที่เรียงรายด้วยสถาปัตยกรรมอาคารไม้เก่าแก่สวยงาม พร้อมทั้งหอนาฬิกาที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของชุมชน

อ่านต่อ

น้ำตกไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

น้ำตกไทรโยคใหญ่ (Sai Yok Yai Waterfall) เปรียบเสมือนอัญมณีแห่งเมืองกาญจนบุรี ด้วยความงามของม่านน้ำอันยิ่งใหญ่ที่ไหลรินลงมาจากหน้าผาสูงและกลายเป็นสายน้ำที่ทอดยาว รายล้อมไปด้วยป่าไม้ร่มรื่น ที่นี่จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี

อ่านต่อ

ต้นจามจุรียักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

ต้นจามจุรียักษ์ (Giant Monkey Pod Tree) อายุกว่า 100 ปี ที่ยืนตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่ผู้คนที่มาพักผ่อนหย่อนใจ คืออีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน

อ่านต่อ

คู่มือการดำเนินการตามกระบวนการเคลมประกันรถยนต์ฉบับสมบูรณ์

การมีส่วนร่วมในอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือประสบความเสียหายต่อยานพาหนะของคุณอาจเป็นประสบการณ์ที่ตึงเครียดและท่วมท้น อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและแก้ไขปัญหาได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

อ่านต่อ
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ