- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
- อ่าน (10,570)
- ByWebmaster
- 12:04:10 | 25 พ.ย. 2563
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
Phimai Historical Park, Nakhon Ratchasima Province, Thailand
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (Phimai Historical Park) เป็นปราสาทหินใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างด้วยรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อกันว่าปราสาทหินพิมายเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดที่เขมร
ประวัติ
ปราสาทหินตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม สันนิษฐานกันว่า “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏจารึกในภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูที่ระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการสร้างบ่งบอกว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ประมาณช่วงศตวรรษที่ 16 สำหรับเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบปาปวนผสมผสานกับนครวัด ต่อมาหลังสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761) อิทธิพลของวัฒนธรรมของเริ่มเสื่อมลง และมีการสสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมาทำให้เมืองพิมายหมดความสำคัญไปในที่สุด
ในปีพ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ.2494 และ พ.ศ.2497 ได้มีการบูรณะองค์ปรางประธานอีกครั้งโดยได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศสจนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2507 - 2512 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี
ปราสาทหินพิมายมีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำมีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหิน มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่
คลังเงิน ปัจจุบันเหลือเพียงซากฐานอาคารขนาดใหญ่ ที่เรียกอาคารหลังนี้ว่าคลังเงิน เพราะเคยพบเหรียญสำริดโบราณซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปครุฑหรือหงส์อีกด้านอีกด้านเป็นอักษรโบราณ นอกจากนี้ยังพบทับหลังจำหลักเป็นรูปคนกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์ด้วย
สะพานนาคราช เป็นทางที่ทอดนำไปสู่ตัวปรางค์มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม
พระระเบียง แต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นในอยู่กึ่งกลาง และที่สำคัญคือกรอบประตูด้านทิศใต้มีจารึกบนแผ่นหินเป็นอักษรเขมรโบราณกล่าวถึงการสร้างเมืองพิมาย
ปรางค์ประธาน มีขนาดใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่นๆ สันนิษฐานว่าหันไปทางเมืองพระนคร สลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนขึ้นไปห้าชั้น
ปรางค์พรหมทัต ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระบรมรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพบผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า นางอรพิมพ์
ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย และได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ จึงสันนิษฐานว่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์
สระน้ำหรือบาราย โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำหรือภาษาเขมรเรียกว่า บาราย เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภค บ้างก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมบริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลายแห่ง
ประตูชัย เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทั้งสี่ทิศ ประตูชัยอยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายรับกับถนนโบราณที่ทอดมาจากเมืองพระนครในเขมร
กุฏิฤๅษี ที่ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น โดยบริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน เชื่อกันว่ากุฏิฤๅษีเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม
นอกจากเที่ยวชมปราสาทหินพิมายแล้ว หากมีเวลาควรแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายเป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุที่สำคัญจากปราสาทแห่งนี้เอาไว้
สะพานนาคราช
บริเวณชาลาทางเดินเข้าสู่ปราสาทประธานภายใน
บริเวณชาลาทางเดิน
ทัศนียภาพปราสาทหินพิมาย
ปรางค์ประธาน
พระพุทธรูปปางนาคปรก
การเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา
- รถยนต์ (Car/ Bus) การเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดนครราชสีมา มีระยะทาง 260 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 40 นาที
- รถไฟ (Train) การเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดนครราชสีมา ใช้เวลาเร็วสุดประมาณ 5 ชั่วโมง ทั้งนี้อาจใช้เวลานานกว่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทของรถไฟ
การเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อุทยานประวัติศาสตร์พิมายอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 60 กม. ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง หากไม่ได้เดินทางโดยรถส่วนตัวสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาย โคราช – พิมาย จากสถานีขนส่งจังหวัด โดยนั่งไปลงด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมายได้เลย ค่าโดยสาร 50 บาท
เวลาทำการเปิด – ปิด
เปิดทุกวัน เวลา 07.00 – 18.00 น.
อัตราค่าเข้าชม
ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ชมสถาปัตยกรรมส่วนต่างๆ ที่งดงามภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และไม่พลาดชมจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูที่ระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงการสร้างเมืองพิมาย
บรรยากาศภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
สามารถเที่ยวได้ทั้งปี
ปราสาทหินพิมายสร้างเพื่อนเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบปาปวนผสมผสานกับนครวัด
ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้
ปราสาทหินพิมายมีการจัดงานประจำปี คือ “งานเทศกาล เที่ยวพิมาย” โดยจะจัดขึ้นประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือตุลาคม ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เพื่อฉลองสมโภชเมืองพิมายที่มีอายุยาวนานนับพันปี และเพื่อบอกเล่าวิถีชีวิตของคนพิมายในสมัยโบราณ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ อาทิการแสดงแสง สี เสียง วิมายะปุระ The Musicals การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานฯ ณ สนามแข่งขันเรือลำน้ำจักราช ตลาดย้อนยุค ของดีเมืองพิมาย 12 ตำบล การออกร้านจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ตลอดจนการแสดงมหรสพต่างๆ
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
(Phimai Historical Park, Nakhon Ratchasima Province, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
เวลาทำการเปิด – ปิด : เปิดทุกวัน เวลา 07.00 – 18.00 น.
ตั้งอยู่ที่ : 341/3 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ : (+66) 044 471 535
เว็บไซต์ : -
ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com
ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา https://nakhonratchasima.mots.go.th
ศูนย์ข้อมูลการเดินทางจังหวัดนครราชสีมา https://www2.nakhonratchasima.go.th/content/cate/8
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ (Phu Pha Toep National Park) หรือ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นหนึ่งในอุทยานที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในประเทศไทย โดยอุทยานแห่งนี้เป็นที่ตั้งของหินรูปทรงประหลาดและถ้ำที่มีจิตรกรรมวาดด้วยมือ
อ่านต่อภูห้วยอีสัน จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
ภูห้วยอีสัน (Phu Huai Isan) เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกแห่งใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ด้วยวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเลหมอกลอยละล่องเหนือสายน้ำโขง และขุนเขาสลับซับซ้อน ทำให้ที่นี่เป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเมื่อมาจังหวัดหนองคาย
อ่านต่ออุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม (Pa Hin Ngam National Park) จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีสภาพป่าสมบูรณ์และมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง โดยเฉพาะทุ่งดอกกระเจียวที่จะออกดอกสีชมพูอมม่วงบานสะพรั่งไปทั่วผืนป่าในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี
อ่านต่อปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ปราสาทพนมวัน (Prasat Phanom Wan) อีกหนึ่งปราสาทหินเก่าแก่ในจังหวัดนครราชสีมาที่สร้างขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 15 เพื่อเป็นเทวสถาน ปราสาทหินแห่งนี้ถือเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย
อ่านต่อ5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดยโสธร ประเทศไทย
จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชี จังหวัดยโสธรมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมหลายแห่ง เพราะเป็นเมืองที่ผ่านประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยทวาราวดี วันนี้ทาง Palanla จึงได้รวบรวมสถานที่ที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดยโสธรมาฝากทุกท่านไว้ในบทความนี้
อ่านต่อวัดพระพุทธบาทยโสธร จังหวัดยโสธร ประเทศไทย
วัดพระพุทธบาทยโสธร (Wat Phra Buddhabat Yasothon) เป็นวัดที่มีความสวยงามจากหมู่อาคารสีขาวท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนนิยมมาเที่ยวชมวัดและสักการะโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาอันได้แก่ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปปางนาคปรก และศิลาจารึกโบราณที่มีอายุราวห้าร้อยปี รวมทั้งพระพุทธรูปหยกขาวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ และพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ภายในเจดีย์ของวัดอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งวัดดังของจังหวัดยโสธรที่ควรค่าต่อการมาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง
อ่านต่อ8 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดในภาคอีสานตอนล่างที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นจุดชมวิวอันน่าประทับใจ ไปจนถึงแหล่งโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และวัดวาอารามที่สร้างขึ้นอย่างงดงามให้เที่ยวชม วันนี้ทาง Palanla ได้รวบรวม 8 สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดศรีเกษมาฝากทุกท่านกันในบทความนี้
อ่านต่อผามออีแดง จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
ผามออีแดง (Pha Mor E Daeng) เป็นหน้าผาที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นปราสาทเขาพระวิหาร ป่าไม้ และบ้านเมืองของกัมพูชาที่อยู่ไกลออกไปได้ ในยามเช้าของช่วงปลายฝนต้นหนาวจะเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม ส่วนในยามพระอาทิตย์ตกดินจะมองเห็นฝูงค้างคาวบินออกมาจากถ้ำเพื่อหากิน นอกจากนี้ อีกหนึ่งไฮไลท์ของผามออีแดงคือภาพจิตรกรรมโบราณที่ถูกสลักไว้ริมหน้าผาซึ่งมีความเก่าแก่กว่าหนึ่งพันห้าร้อยปีทีเดียว ถือเป็น Unseen Thailand ที่คุ้มค่าต่อการมาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง
อ่านต่อน้ำตกสำโรงเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
น้ำตกสำโรงเกียรติ (Samrong Kiat Waterfall) เป็นน้ำตกที่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด น้ำตกแห่งนี้มีเอกลักษณ์ตรงที่บริเวณด้านบนหน้าผาจะมีแอ่งลานหินขนาดใหญ่รองรับธารน้ำเอาไว้ก่อนที่จะไหลตกลงมาตามชั้นหน้าผา น้ำตกสำโรงเกียรติมีน้ำไหลตลอดปี และจะมีน้ำมากที่สุดในช่วงฤดูฝน บรรยากาศโดยรอบมีความร่มรื่นจากป่าไม้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับการมาเล่นน้ำ นั่งพักผ่อนหย่อนใจ และถ่ายภาพสวยๆ ได้อย่างเพลิดเพลิน
อ่านต่อเกาะกลางน้ำ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย
เกาะกลางน้ำ (Koh Klang Nam) เป็นเกาะที่อยู่ใจกลางอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำคำในอำเภอเมืองศรีสะเกษ บนเกาะแห่งนี้เป็นสวนสาธาณะขนาดใหญ่และเป็นที่ตั้งของอาคารสำคัญหลายแห่ง เช่น หอศรีลำดวนเฉลิมพระเกียรติที่เป็นหอชมเมืองศรีสะเกษได้รอบทิศ และศรีสะเกษอควาเรียมซึ่งเป็นศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นี่จึงเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของจังหวัดศรีสะเกษอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก
อ่านต่อ