- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
- อ่าน (5,990)
- ByWebmaster
- 17:02:03 | 14 มี.ค. 2561
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
Chaosamphraya National Musuem, Ayutthaya, Thailand
บริเวณทางเข้าอาคารหลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมโบราณวัตถุ พระพุทธรูป และสิ่งล้ำค่าอื่นๆที่มาจากการขุดค้นและบูรณะโบราณสถานต่างๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยกรมศิลปากร โดยภายในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่นพระแสงดาบทองคำ เศียรพระพุทธรูปสำริด พระสถูปทองคำ และพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
พระพุทธรูปในสมัยอยุธยาที่ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์
ในปี พ.ศ. 2499-2500 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานต่างๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้พบโบราณวัตถุศิลปวัตถุจำนวนมาก เช่น เครื่องทองคำ พระพุทธรูป พระพิมพ์ โดยเฉพาะบริเวณกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “ โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่” กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้น เพื่อรวบรวมและเก็บรักษาโบราณวัตถุอันล้ำค่าที่ค้นพบเอาไว้
พื้นที่การจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ประกอบไปด้วยอาคาร 3 แห่ง ได้แก่
- อาคารแห่งแรก (ตึกเจ้าสามพระยา) จัดแสดงโบราณศิลปวัตถุที่ค้นพบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างพ.ศ. 2499-2500 พระพุทธรูปสำคัญที่จัดแสดงคือ พระพุทธรูปศิลาขาวปางประทานเทศนาประทับนั่งห้อยพระบาท สมัยทรวารวดี และพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริดสมัยสุโขทัย
- อาคารแห่งที่ 2 จัดแสดงโบราณศิลปวัตถุที่พบในประเทศไทยตามลำดับอายุ ตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยาและรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุสำคัญที่จัดแสดง เช่น พระพุทธรูปประทับนั่งเหนือพนัสบดี พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
- อาคารแห่งที่ 3 เป็นหมู่เรือนไทยแบบภาคกลางตั้งอยู่กลางน้ำ ภายในเรือนไทยจัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยในสมัยก่อน เช่น เตาเชิงกราน หม้อดินเผาสำหรับหุงต้ม กระต่ายขูดมะพร้าวและเครื่องจักสานต่างๆ ได้แก่ ตะกร้า กระจาด และเครื่องจับสัตว์น้ำ
การเดินทางไปจังหวัดอยุธยาจากกรุงเทพฯ
- รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ขับผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบเส้นทางที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้จากแอปพลิเคชัน Google Map
- รถตู้ นักท่องเที่ยวสามรถขึ้นรถตู้กรุงเทพ-อยุธยาได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต หรือบริเวณห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 60 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและจุดขึ้นลงรถ
- รถไฟ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถไฟที่วิ่งเส้นทางสายเหนือจากสถานีหัวลำโพง ลงที่สถานีพระนครศรีอยุธยา โดยมีขบวนรถไฟให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 04.20 – 22.45 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาทสำหรับรถไฟชั้น 3 นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยที่เบอร์ 1690 หรือ www.railway.co.th
การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
- รถยนต์ส่วนตัว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนปรีดีพนมยงค์ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา นักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบเส้นทางที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้จากแอปพลิเคชัน Google Map
- รถตุ๊กตุ๊ก ภายในตัวเมืองอยุธยามีรถตุ๊กตุ๊กให้บริการในอัตรา 20-40 บาทต่อคน ขึ้นอยู่กับระยะทาง สำหรับการเหมารถ ค่าเช่าตุ๊กตุ๊กต่อชั่วโมงจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 200 บาท
- Grabcar พื้นที่จ.อยุธยามีระบบเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab โดยสามารถตรวจสอบอัตราค่าโดยสารแต่ละครั้งได้บนหน้าจอก่อนที่จะกดเรียกรถไปยังสถานที่ต่างๆ โดยนักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดแอป Grab ได้ที่ http://grb.to/2F9a2bx
เวลาในการเปิด-ปิดทำการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น.
พื้นที่จัดแสดงพระพุทธรูปที่ขุดพบในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์
พื้นที่จัดแสดงพระพุทธรูปที่ขุดพบในเขตวิหารพระมงคลบพิตร
การซื้อบัตรเข้าชม
ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท
หน้าบันจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่เคยอยู่หน้าพระอุโบสถและซุ้มพระคูหาวัดพระศรีสรรเพชญ์
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
เศียรพระประธานวัดธรรมิกราชที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาได้ตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถตรวจสอบพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเพื่อความสะดวกในการท่องเที่ยวได้ที่ https://www.accuweather.com/
ข้อมูลทั่วไปที่ควรรู้
พระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวาราวดี ในท่าประทับนั่งห้อยพระบาทซึ่งเคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม
พื้นที่ส่วนใหญ่ของพิพิธภัณฑ์อนุญาตให้ถ่ายภาพได้ แต่ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวไม่ควรถ่ายภาพโดยการใช้แฟลช ซึ่งจะเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่โบราณวัตถุที่จัดแสดงอยู่
วัตถุโบราณบางส่วนจัดแสดงโดยไม่มีกระจกกั้น เปิดให้นักท่องเที่ยวชื่นชมความงามอย่างใกล้ชิด แต่นักท่องเที่ยวไม่ควรสัมผัส หรือกระทำสิ่งใดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัตถุโบราณนั้นๆ
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
(Chaosamphraya National Musuem, Ayutthaya, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น.
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี
สถานที่ตั้ง : ตำบลประตูชัย อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ : (+66)35-241587
เว็บไซต์ : http://www.thailandmuseum.com/chawsampraya/history.htm
ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้ : เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org/home
เว็บไซต์จังหวัดอยุธยา http://ww2.ayutthaya.go.th/frontpage
เฟซบุ๊คการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดอยุธยา https://www.facebook.com/TatAyutthaya/
เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบสภาพอากาศ https://www.accuweather.com/
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
น้ำตกไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
น้ำตกไทรโยคใหญ่ (Sai Yok Yai Waterfall) เปรียบเสมือนอัญมณีแห่งเมืองกาญจนบุรี ด้วยความงามของม่านน้ำอันยิ่งใหญ่ที่ไหลรินลงมาจากหน้าผาสูงและกลายเป็นสายน้ำที่ทอดยาว รายล้อมไปด้วยป่าไม้ร่มรื่น ที่นี่จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี
อ่านต่อต้นจามจุรียักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
ต้นจามจุรียักษ์ (Giant Monkey Pod Tree) อายุกว่า 100 ปี ที่ยืนตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่ผู้คนที่มาพักผ่อนหย่อนใจ คืออีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน
อ่านต่อคู่มือการดำเนินการตามกระบวนการเคลมประกันรถยนต์ฉบับสมบูรณ์
การมีส่วนร่วมในอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือประสบความเสียหายต่อยานพาหนะของคุณอาจเป็นประสบการณ์ที่ตึงเครียดและท่วมท้น อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและแก้ไขปัญหาได้ราบรื่นยิ่งขึ้น
อ่านต่อสวนสาธารณะเทศบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
สวนสาธารณะเทศบาลโพธาราม (Muang Photharam Municipal Public Park) เป็นสวนสาธารณะที่ตั้งอยู่ริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลองในอำเภอโพธาราม ภายในสวนมีบรรยากาศร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่ และยังมีส่วนของจุดชมวิว สนามหญ้า ทางวิ่งออกกำลังกาย ลานกีฬา เครื่องออกกำลังกาย และสนามเด็กเล่น สวนสาธาณะแห่งนี้เหมาะกับคนทุกวัยที่ต้องการมาเดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และชมวิวแม่น้ำแม่กลองที่เป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดราชบุรี และที่นี่ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานกิจกรรมและงานประเพณีต่างๆ ของเมืองโพธารามอีกด้วย
อ่านต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี (Ratchaburi National Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์จากการใช้ศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดราชบุรีมาก่อตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อาคารแห่งนี้เป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามและอยู่คู่กับจังหวัดราชบุรีมาอย่างนาวนาน และยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติอีกด้วย ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรีมีนิทรรศการท้องถิ่นที่น่าสนใจของจังหวัดราชบุรีให้เที่ยวชม โดยจัดแสดงเรื่องราวทางสภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ชนเผ่าชาติพันธุ์วิทยา มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และบุคคลสำคัญ ไปจนถึงคลังโบราณวัตถุที่หาชมได้ยากตั้งแต่เครื่องปั้นดินเผาไปจนถึงพระพุทธรูปในยุคต่างๆ
อ่านต่อน้ำตกเก้าชั้น จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
น้ำตกเก้าชั้น (Kaew Chan Waterfalls) เป็นน้ำตกกลางหุบเขาที่มีความสูง 9 ชั้น โดยแต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันไป ชั้นที่ได้ชื่อว่าสวยงามที่สุดคือบริเวณชั้นที่ 6 น้ำตกเก้าชั้นสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เพราะมีน้ำไหลทุกฤดูกาล โดยจะมีน้ำมากที่สุดและสวยที่สุดในช่วงฤดูฝน เพราะจะมองเห็นสายน้ำตกสีขาวขนาดใหญ่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงท่ามกลางป่าไม้อันเขียวขจีและเสียงของน้ำตก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งของอำเภอสวนผึ้ง
อ่านต่อตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก (Lao Tuk Luck Floating Market) เป็นตลาดน้ำแห่งแรกของจังหวัดราชบุรีที่ก่อตั้งขึ้นมาก่อนตลาดน้ำดำเนินสะดวก มีลักษณะเป็นตลาดน้ำขนาดย่อมที่ตั้งอยู่บนเรือนไม้ริมน้ำที่ชุมชนชาวไทย-จีนอาศัยอยู่ ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลักมีบรรยากาศเรียบง่ายและคลาสสิก แต่มีความพลุกพล่านน้อยกว่าตลาดน้ำดำเนินสะดวก การเดินทางก็แสนง่าย แค่เพียงแค่ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำจากฝั่งตลาดน้ำดำเนินสะดวกมายังฝั่งตรงข้าม ก็จะได้พบกับเรือนไม้โบราณของชุมชนชาวจีนและลำคลองที่ตัดผ่าน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอาหารทานง่ายอร่อยๆ ให้เลือกมากมาย และมีมุมถ่ายรูปสวยๆ ให้เก็บความประทับใจ นอกจากนี้ในวันหยุดจะมีเสียงดนตรียุค 80 คลอเคล้าสร้างความเพลิดเพลินในการเดินตลาดอีกด้วย
อ่านต่อตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
ตลาดน้ำอโยธยา (Ayothaya Floating Market) ตลาดน้ำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองเก่าแห่งนี้
อ่านต่อวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
วัดราชบูรณะ (Wat Ratchaburana) อนุสรณ์สถานแห่งการแย่งชิงราชบัลลังค์ เป็นอีกหนึ่งในวัดที่ใหญ่ และเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา เมื่อปี พ.ศ. 1967
อ่านต่อวัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
วัดมเหยงคณ์ (Wat Mahaeyong) อดีตพระอารามหลวง และกลายเป็นวัดร้างไปภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310 ปัจจุบันวัดแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานปฏิบัติธรรม ใจกลางโบราณสถานที่เก่าแก่ของอยุธยาอีกด้วย
อ่านต่อ