- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
- อ่าน (15,715)
- ByWebmaster
- 14:34:30 | 29 มี.ค. 2566
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
Ayutthaya Historical Park, Ayutthaya, Thailand
โบราณสถานในเขตวัดมหาธาตุ ที่ถือเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นเขตโบราณสถานครอบคลุมพื้นที่จำนวนกว่า 3,000 ไร่ และประกอบไปด้วยพระราชวัง วัด และโบราณสถานสำคัญจำนวน 28 แห่ง อุทยานแห่งนี้ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 จากองค์กรยูเนสโก ในนาม “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” ด้วยเหตุผลว่า “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว” ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เจดีย์สีขาวตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางโบราณสถานส่วนอื่นๆในเขตอุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา คือเขตโบราณสถานเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาเคยรุ่งเรืองในอดีต และมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างมากมายทั้งพระราชวัง ศาสนสถาน และวิหารต่างๆ มีขอบเขตพื้นที่ตามประกาศกรมศิลปากร รวมพื้นที่ทั้งสิ้นราว 3,000 ไร่ โดยได้มีการกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 รวมพื้นที่ประมาณ 1,810 ไร่ โดยในเขตที่ดินโบราณสถานดังกล่าว มีโบราณสถานที่สำคัญอาทิเช่น พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม และวิหารพระมงคลบพิตร
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติม ซึ่งครอบคลุมเกาะเมืองอยุธยาและพื้นที่รอบนอกเกาะเมืองทุกด้านที่ปรากฏหลักฐานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการอนุรักษ์และพัฒนาให้เหมาะสมกับการที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก ทั้งนี้ เขตที่ดินโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก คือ เขตที่ดินในส่วนก่อนมีประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2540 เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเสนอขอขยายเขตที่ดินตามประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณเพิ่มเติมให้เป็นมรดกโลก
การเดินทางไปจังหวัดอยุธยาจากกรุงเทพฯ
- รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ขับผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบเส้นทางที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้จากแอปพลิเคชัน Google Map
- รถตู้ นักท่องเที่ยวสามรถขึ้นรถตู้กรุงเทพ-อยุธยาได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต หรือบริเวณห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 60 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและจุดขึ้นลงรถ
- รถไฟ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถไฟที่วิ่งเส้นทางสายเหนือจากสถานีหัวลำโพง ลงที่สถานีพระนครศรีอยุธยา โดยมีขบวนรถไฟให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 04.20 – 22.45 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาทสำหรับรถไฟชั้น 3 นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยที่เบอร์ 1690 หรือ www.railway.co.th
การเดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
- รถยนต์ส่วนตัว นักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบเส้นทางการขับรถไปยังสถานที่ต่างๆของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จากแอปพลิเคชัน Google Map หรือแผนที่ท่องเที่ยวที่ทางการจัดทำไว้
- รถตุ๊กตุ๊ก ภายในตัวเมืองอยุธยามีรถตุ๊กตุ๊กให้บริการในอัตรา 20-40 บาทต่อคน ขึ้นอยู่กับระยะทาง สำหรับการเหมารถ ค่าเช่าตุ๊กตุ๊กต่อชั่วโมงจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 200 บาท
- Grabcar พื้นที่จ.อยุธยามีระบบเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab โดยสามารถตรวจสอบอัตราค่าโดยสารแต่ละครั้งได้บนหน้าจอก่อนที่จะกดเรียกรถไปยังสถานที่ต่างๆ โดยนักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดแอป Grab ได้ที่ http://grb.to/2F9a2bx
เวลาในการเปิด-ปิดทำการ
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 18.00 น.
พระพุทธรูปจำนวนมากในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่เพียงโครงสร้างบางส่วนในปัจจุบัน
การซื้อบัตรเข้าชม
บัตรเข้าชมแบบรวม สำหรับชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและโบราณสถานบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน
พระพุทธรูปในวัดมหาธาตุที่ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างสมูบรณ์
จุดท่องเที่ยวสำคัญบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เจดีย์ขนาดใหญ่ 3 องค์ของวัดพระศรีสรรเพชญ์
- วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นอดีตวัดหลวงประจำพระราชวังในสมัยอยุธยา โดยแต่เดิมนั้นเดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ วัดพระศรีสรรเพชญ์มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจากเจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ 3 องค์เรียงเป็นแนวเดียวกัน โดยภายในเจดีย์องค์แรกเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เศียรพระในต้นไม้ จุดท่องเที่ยวของวัดมหาธาตุซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
- วัดมหาธาตุ ในอดีต วัดมหาธาตุเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งตั้งอยู่ใจกลางนครอยุธยา และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสี สร้างขึ้นในราวปีพ.ศ. 1917-1927 สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดพังทลายจนเหลือเพียงส่วนของรากฐานให้เห็นในปัจจุบัน และมีการนำพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบไปประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จเจ้าสามพระยา นอกจากนี้วัดมหาธาตุยังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจาก”เศียรพระในต้นไม้” ซึ่งไม่สามารถระบุความเป็นมาได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากพระพุทธรูปในอดีตที่ได้รับความเสียหาย จนส่วนพระเศียรร่วงลงมาอยู่บนพื้น จนรากของต้นโพธิ์เติบโตขึ้นและเข้าปกคลุมจนเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
วิหารพระมงคลบพิตรที่ได้รับการบูรณะอย่างดีในสมัยจอมพล ป.
- วิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่เดิมถูกทิ้งร้างเช่นเดียวกับวัดอื่นๆในเขตพระนครศรีอยุธยา แต่ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งตัววิหารและพระประธานจึงอยู่ในสภาพดีดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยภายในพระอุโบสถหลักเป็นที่ประดิษฐานของพระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์เดียวในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราวพ.ศ. 2081
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
กลุ่มพระสงฆ์เดินชมพื้นที่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเยือนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้อาจหลีกเลี่ยงในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม เนื่องจากมีอาการร้อนจัด
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถตรวจสอบพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเพื่อความสะดวกในการท่องเที่ยวได้ที่ https://www.accuweather.com/
ข้อมูลทั่วไปที่ควรรู้
อาคารอื่นๆในเขตของวัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งหลงเหลืออยู่เพียงส่วนฐานเท่านั้น
นักท่องเที่ยวควรแต่งกายให้สุภาพ สวมเสื้อมีแขน สวมกระโปรงหรือกางเกงขายาว และไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดรูป จนเกินไป นอกจากนี้ ไม่ควรกระทำสิ่งใดที่เป็นการสร้างอันตรายและความเสียหายต่อตัวโบราณสถาน รวมถึงการปีนป่ายและเข้าไปยังพื้นที่ห้ามเข้าอีกด้วย
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
(Ayutthaya Historical Park, Ayutthaya, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและโบราณสถาน
บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน
เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 18.00 น.
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ : (+66)35-245123-4
เว็บไซต์ : -
ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้ : เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org/home
เว็บไซต์จังหวัดอยุธยา http://ww2.ayutthaya.go.th/frontpage
เฟซบุ๊คการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดอยุธยา https://www.facebook.com/TatAyutthaya/
เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบสภาพอากาศ https://www.accuweather.com/
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
พิจิตร จังหวัดเล็กๆ ที่ซ่อนเสน่ห์เอาไว้มากมาย และไม่ได้มีแค่บึงสีไฟเพียงอย่างเดียว เพราะเมืองชาละวันแห่งนี้มีทั้งธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ วัดวาอารามเก่าแก่ และวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นที่น่าสนใจ บทความนี้ Palanla จะพาไปเปิดมุมมองใหม่กับ 10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนพิจิตร
อ่านต่อวัดหิรัญญาราม (วัดบางคลาน) จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
วัดหิรัญญาราม (Wat Hiranyaram) หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในชื่อ วัดบางคลาน (Wat Bang Khlan) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่รู้จักจาก หลวงพ่อเงิน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีผู้คนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก
อ่านต่ออุทยานเมืองเก่าพิจิตร จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร (Pichit Historical Park) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด เชื่อกันว่าเดิมทีบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า
อ่านต่อวัดนครชุม จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
วัดนครชุม (Wat Nakhon Chum) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยเคยเป็นวัดสำคัญของเมืองพิจิตรในอดีต
อ่านต่อวัดเขารูปช้าง จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
วัดเขารูปช้าง (Wat Khao Rup Chang) อีกหนึ่งวัดเก่าแก่ของจังหวัดพิจิตรที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันเป็นรูปช้างคุกเข่าโดดเด่นด้วยเจดีย์แบบลังกา ประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์
อ่านต่อทุ่งดอกกระเจียวยักษ์บ้านเขาโล้น จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ทุ่งดอกกระเจียวยักษ์บ้านเขาโล้น (Giant Siam Tulip Field Baan Khao Loan) ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เมื่อดอกกระเจียวสีชมพูบานสะพรั่งทั่วทั้งทุ่ง
อ่านต่อตลาดย่านเก่าวังกรด จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ตลาดย่านเก่าวังกรด ( Yan Kao Wang Krot Market) ตลาดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ณ ย่านเก่าวังกรด จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งรวมอาหารอร่อยที่เรียงรายด้วยสถาปัตยกรรมอาคารไม้เก่าแก่สวยงาม พร้อมทั้งหอนาฬิกาที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของชุมชน
อ่านต่อน้ำตกไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
น้ำตกไทรโยคใหญ่ (Sai Yok Yai Waterfall) เปรียบเสมือนอัญมณีแห่งเมืองกาญจนบุรี ด้วยความงามของม่านน้ำอันยิ่งใหญ่ที่ไหลรินลงมาจากหน้าผาสูงและกลายเป็นสายน้ำที่ทอดยาว รายล้อมไปด้วยป่าไม้ร่มรื่น ที่นี่จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี
อ่านต่อต้นจามจุรียักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
ต้นจามจุรียักษ์ (Giant Monkey Pod Tree) อายุกว่า 100 ปี ที่ยืนตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่ผู้คนที่มาพักผ่อนหย่อนใจ คืออีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบัน
อ่านต่อคู่มือการดำเนินการตามกระบวนการเคลมประกันรถยนต์ฉบับสมบูรณ์
การมีส่วนร่วมในอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือประสบความเสียหายต่อยานพาหนะของคุณอาจเป็นประสบการณ์ที่ตึงเครียดและท่วมท้น อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและแก้ไขปัญหาได้ราบรื่นยิ่งขึ้น
อ่านต่อ