ค้นหา :

บทความ

ซุ้มประตูเมืองและพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย

ซุ้มประตูเมืองและพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล (City Gate & Mueang Lab Lae Museum) หนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองลับแลที่ทำหน้าที่คอยต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และบอกเล่าเรื่องราว วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองลับแลในอดีตเชื่อมโยงมาจนถึงปัจจุบัน

อ่านต่อ
บทความ

ประตูเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

ประตูเมืองกาญจนบุรี (Kanchanaburi Town Gate) เป็นแลนด์มาร์กและอนุสรณ์สถานที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะเป็นประตูเมืองสีขาวที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2374 เมื่อครั้งย้ายเมืองกาญจนบุรีเก่าจากตำบลลาดหญ้า มาสู่ปากแพรกด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ทางการรบที่มีชัยภูมิที่ดีกว่า บริเวณซุ้มประตูเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ
บทความ

ประตูบรันเดินบวร์ค เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

ประตูบรันเดินบวร์ค (Brandenburg Gate / ภาษาเยอรมันคือ Brandenburger Tor) เป็นประตูเมืองเก่าที่ปัจจุบันเป็นแลนด์มาร์กขนาดใหญ่ใจกลางเมืองเบอร์ลิน และเป็นฉากหลังของประวัติศาสตร์สำคัญมากมายมานับร้อยปี ไม่ว่าจะเป็นในยุคสงคราม ยุคแบ่งแยกประเทศ จนถึงวันรวมชาติเยอรมนี จึงได้ชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพและสันติภาพ สร้างขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่17 ตามพระราชโองการของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Friedrich Wilhelm II, Emperor of Prussia) ออกแบบโดย คาร์ล ก็อทท์ฮาร์ด แลงฮานส์ (Carl Gotthard Langhans) โดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกรีกโรมันโบราณ (Neoclassical Architecture) ให้มีลักษณะคล้ายกับประตูเอเธนส์ (Athens) โดยประกอบด้วยเสาหินทราย ขนาดใหญ่ ฝั่งละ 6 ต้น รวม จำนวน 12 ต้น มีทางเข้าออก 5 ทาง ด้านบนของประตูประดับด้วยประติมากรรมควอดริกา (Quardriga) เป็นรูปปั้นของเทพีวิกตอเรีย (Victoria) เทพีแห่งชัยชนะของโรมัน ประทับอยู่บนราชรถเทียมม้าสี่ตัว ประตูแห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของกรุงเบอร์ลิน

อ่านต่อ
บทความ

ซุ้มประตูเมือง เมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก

ซุ้มประตูเมือง (Powder Tower) คือหนึ่งในประตูเมืองหลัก ที่มีอยู่ 13 แห่งทั่วเมือง ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตสำคัญระหว่างเมืองเก่ากับเมืองใหม่ ตัวซุ้มประตูเมืองจะมีลักษณะการออกแบบสไตล์โกธิค (Gothic) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก สถาปัตยกรรมของสะพานชาร์ลส์ (Charles Bridge) โดยที่นี่ยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงความยิ่งใหญ่ของเมืองปราก และเคยเป็นสถานที่เก็บดินปืนสำหรับทำสงครามด้วย ปัจจุบันภายในหอคอยของซุ้มประตูเมืองถูกปรับเป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกจุดของเมืองปราก

อ่านต่อ