ค้นหา :
ป่าไผ่ทาเคะ โนะ มิจิ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ป่าไผ่ทาเคะ โนะ มิจิ (Take No Michi) เป็นป่าไผ่ความยาวร่วมสองกิโลเมตรในเมืองมุโค ไม่ไกลจากเกียวโต บรรยากาศของที่นี่สงบ ร่มรื่น สามารถเดินชมได้เรื่อยๆ อย่างเพลิดเพลิน ทางเดินป่าไม้ไผ่แห่งนี้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในทางเดินเท้าที่สวยที่สุดของญี่ปุ่น
อุโมงค์ป่าไผ่ จังหวัดนครนายก ประเทศไทย
อุโมงค์ป่าไผ่ (Bamboo Tree Tunnel) เป็นซุ้มต้นไผ่ภายในวัดจุฬาภรณ์วนารามที่มีบรรยากาศร่มรื่นและคล้ายกับป่าไผ่อาราชิยาม่าที่ญี่ปุ่น นักท่องเที่ยวนิยมมาเดินเล่นและถ่ายภาพสวยๆ ของซุ้มต้นไผ่อันเขียวขจีที่โค้งตัวปกคลุมเหนือทางเดินความยาวหลายร้อยเมตร อุโมงค์ป่าไผ่แห่งนี้จึงเป็นจุดเช็คอินอีกแห่งหนึ่งของนครนายกที่ไม่ควรพลาด
วัดโฮโคะคุจิ เมืองคามาคุระ ประเทศญี่ปุ่น
วัดโฮโคะคุจิ (Hokokuji Temple) เป็นวัดเก่าแก่ของนิกายรินไซ (Rinzai) ตั้งอยู่บนเนินเขาทางด้านตะวันออกของเมืองคามาคุระ วัดนี้เป็นที่รู้จักเพราะมีป่าไม้ไผ่อันเขียวขจีร่มรื่นขนาดใหญ่อยู่ภายในวัด และยังมีชื่อเสียงด้านการสอนทำสมาธิที่เรียกว่าซาเซ็นไค (Zazenkai) นอกจากนี้นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาดการแวะดื่มชาเขียวท้องถิ่น และชมสวนโดยรอบ รวมถึงสวนสไตล์เซนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยเหตุนี้วัดโฮโคะคุจิจึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเยือนเมืองคามาคุระ
ป่าไผ่อาราชิยาม่า กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ป่าไผ่อาราชิยาม่า คือ จุดท่องเที่ยวทีมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ด้วยบรรยากาศอันสงบร่มรื่น และความงามอันเป็นเอกลักษณ์ของแนวต้นไผ่จำนวนมากตลอดสองข้างทาง ตั้งอยู่ในเมืองอาราชิยาม่า กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ป่าไผ่อาราชิยาม่า
ป่าไผ่อาราชิยาม่า คือ จุดท่องเที่ยวทีมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ด้วยบรรยากาศอันสงบร่มรื่น และความงามอันเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งต้นไผ่ยังเป็นพรรณไม้ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด ทั้งเรื่องของความคงทน และประโยชน์ในการใช้งานอันหลากหลาย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละเมืองจึงมีการปลูกป่าไผ่เอาไว้ตามจุดต่างๆเพื่อนำมาใช้งาน โดยในเกียวโตนั้นมีป่าไผ่ใหญ่ๆทั้งหมด 4 แห่ง คือป่าไผ่ ในเมืองอาราชิยาม่า ติดกับวัดเท็นริวจิ (Tenryu-ji Temple) ป่าไผ่ในวัดโคโตะอิน (Koto-in Temple) ป่าไผ่ในวัดโคไดจิ (Kodai-ji Temple) และป่าไผ่ในวัดโชเดนจิ (Shoden-ji Temple) หากสังเกตดูจะพบว่าป่าไผ่ในญี่ปุ่นนั้นมักปลูกอยู่ภายในหรือใกล้กับบริเวณวัดเป็นหลัก ซึ่งเหตุผลนั้นมาจากความเชื่อและสัญลักษณ์ของต้นไผ่ที่เป็นตัวแทนของความดี ความงาม และความเป็นสิริมงคล