- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย

- อ่าน (6,991)
- ByWebmaster
- 11:27:07 | 21 ส.ค. 2564
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
Bang Rachan Memorial Park, Sing Buri, Thailand
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน (Bang Rachan Memorial Park) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของชาวบ้านบางระจันที่ช่วยต่อต้านทัพพม่าและรักษาบ้านเมืองไว้ได้ และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงมีพิพิธภัณฑ์ให้เยี่ยมชมศึกษา
ประวัติ
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 115 ไร่ภายในบริเวณอุทยานค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นสวนรุกชาติ บรรยากาศร่มรื่นสวยงาม โดดเด่นด้วยอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 คน ได้แก่ พระอาจารย์ธรรมโชติ ขันสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจัน หนวดเขี้ยว นายทอง แสงใหญ่ นายแทน นายโชติ และนายทองแก้ว สร้างโดยกรมศิลปากร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของชาวบ้านบางระจันที่ช่วยต่อต้านทัพพม่าและรักษาบ้านเมืองไว้ได้เป็นเวลานานก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ.2310
ค่ายบางระจันมีความสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยในขณะที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าล้อมในพ.ศ.2307 นั้น เนเมียว สีหบดี แม่ทัพพม่า ได้ส่งทหารออกไปปล้นทรัพย์สินและกวาดต้อนผู้คน หาหนทางทำลายกำลังข้าศึกอยู่ที่ "บ้านบางระจัน" ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกันชาวบ้านบางระจันก็ได้จัดเตรียมอาวุธ และฝึกกำลังไว้ต่อต้าน โดยมีบุคคลสำคัญคือ พระอาจารย์ธรรมโชติ ขันสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจัน หนวดเขี้ยว นายทอง แสงใหญ่ นายแทน นายโชติ และนายทองแก้ว ซึ่งรวบรวมกำลังคนได้กว่า 400 คน ช่วยกันสร้างบ้านบางระจันขึ้นเพื่อให้เป็นค่ายไว้ต่อสู้ข้าศึก
ฝ่ายพม่าที่อยู่เขตเมืองวิเศษไชยชาญเมื่อทราบข่าวก็ส่งกำลังมาปราบปราม ทว่าถูกชาวบ้านบางระจันต่อสู้จนแตกพ่ายไป ชัยชนะของชาวบ้านบางระจันครั้งนี้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ราษฎรที่หลบซ่อนตัวอยู่ ต่างก็พากันสมัครเข้าเป็นพรรคพวกจำนวนมาก จนสามารถแบ่งกำลังคนเป็นหมวดหมู่ได้อย่างกองทัพแม้ว่ายังขาดอาวุธปืน ต่อมาเนเมียว สีหบดี แม่ทัพพม่า ได้ส่งกำลังทัพใหญ่ประมาณ 1,000 คน มาปราบปราม ชาวบ้านบางระจันจึงได้จัดเตรียมการสู้รบแบบกองทัพ โดยให้นายแท่น แม่ทัพที่คุมพลอยู่กลาง 200 คน นายทองเหม็นคุมพล 200 คนอยู่ปีกขวา และพันเรือง คุมพล 200 คนอยู่ทางปีกซ้าย ได้ทำการต่อสู้รบกันจนกระทั่งพม่าถูกตีแตกพ่ายทัพกลับไป
ภายหลังแม่ทัพพม่าได้ส่งกองทัพมาอีกหลายต่อหลายครั้งแต่ก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง โดยครั้งสุดท้ายพม่าใช้ให้สุกี้ชาวมอญซึ่งมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิประเทศเป็นอย่างดี เป็นผู้นำกองทัพพม่าออกไปต่อสู้กับชาวบ้านบางระจัน โดยสุกี้ได้นำกองทัพพม่ามาตั้งค่ายประจันหน้ากับค่ายบางระจัน ทั้งสองฝ่ายทำการสู้รบกันอย่างเข้มแข็ง ทว่าฝ่ายไทยขาดอาวุธปืนจึงอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ และพ่ายแพ้ในที่สุดเมื่อวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 แม้จะพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพของพม่า แต่ก็กล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าชาวบ้านบางระจันที่มีกำลังพลเพียงน้อยนิดนั้นได้ทำหน้าที่ต้านทานกองทัพเอาไว้ได้อย่างสุดกำลังเป็นเวลานาน
ค่ายบางระจันในปัจจุบันนั้น ได้สร้างจำลองขึ้นโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ และภายในบริเวณยังมีอาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ 3 ห้อง ได้แก่ 1. ห้องแสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ 2. ห้องจัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี 3. ห้องแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี
บริเวณทางเข้าสู่อนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันอันโดดเด่น
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 คน
พิธีเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันมีขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน ตั้งอยู่ภายในบริเวณอุทยานค่ายบางระจัน
สถาปัตยกรรมไทยภายในอุทยานค่ายบางระจัน
การเดินทางไปจังหวัดสิงห์บุรี
- รถยนต์ (Car/ Bus) การเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดสิงห์บุรี มีระยะทาง 140 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที
การเดินทางไปอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน ตั้งอยู่ที่ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน ห่างจากตัวจังหวัดสิงห์บุรี 17 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 20 นาที
เวลาทำการเปิด – ปิด
เปิดทุกวัน เวลา 9.00 – 18.45 น.
อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของชาวบ้านบางระจันที่ช่วยต่อต้านทัพพม่าและรักษาบ้านเมืองไว้ได้เป็นเวลานานก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310
อัตราค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยวอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน
ชมรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 นาย และรื่นรมย์กับบรรยากาศร่มรื่นของสวนรุกชาติภายในบริเวณอุทยานค่ายบางระจัน
ด้านหน้าอนุสาวรีย์มีกระถางปักธูปสำหรับผู้มากราบสักการะ
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
สามารถเที่ยวได้ตลอดปี
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
(Bang Rachan Memorial Park, Sing Buri, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
เวลาทำการเปิด – ปิด : เปิดทุกวัน เวลา 9.00 – 18.45 น.
ตั้งอยู่ที่ : อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน ตั้งอยู่ที่ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
โทรศัพท์ : (+66) 087 589 4033
เว็บไซต์ : -
ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com/
ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี http://www.singburi.go.th/_2017/frontpage
ศูนย์ข้อมูลการเดินทางจังหวัดสิงห์บุรี https://www.dlt.go.th/site/singburi
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ

7 เส้นทางประวัติศาสตร์ภาคกลาง
หากเอ่ยถึงเรื่องราวในอดีตของชาติไทย คงมีหลากหลายเหตุการณ์ที่คงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์สำคัญๆ แม้ในปัจจุบันนั้น จะเหลือเพียงซากปรักหักพังของโบราณสถาน และอนุสรณ์ของวีรชนบรรพบุรุษไทย แต่ก็ล้วนเป็นสิ่งเตือนใจให้ลูกหลานรำลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษไทย และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญครั้นอดีตอยู่เสมอ วันนี้ Palanla จะพาท่อง 7 เส้นทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในภูมิภาคกลาง อีกทั้งไม่ไกลจากกรุงเทพฯ อีกด้วยนะคะ แต่ละสถานที่นั้นมีสิ่งที่น่าสนใจ และมีความเป็นมาอย่างไร พร้อมแล้วตามไปเที่ยวได้เลยค่ะ
อ่านต่อ
วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย
วัดไชโยวรวิหาร (Wat Chaiyo Worawihan) วัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และต่อมาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้“พระมหาพุทธพิมพ์” หรือ หลวงพ่อโต และวัดไชโยวรวิหารกลายเป็นที่รู้จักและเคารพศรัทธาสืบมาจนปัจจุบัน
อ่านต่อ
วัดหนองโพ (หลวงพ่อเดิม) จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
วัดหนองโพ (หลวงพ่อเดิม) Wat Nong Pho (Wat Luang Por Derm) วัดดังอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่รู้จักในฐานะวัดของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) พระเกจิชื่อดังกับมงคลของท่านคือมีดหมอ
อ่านต่อ
บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
บึงบอระเพ็ด (Bueng Borraped Swamp) บึงชื่อคุ้นหูในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บึงอันกว้างใหญ่แห่งนี้มีไฮไลต์คือทุ่งดอกบัวสีสันสวยงาม และบรรดานกน้ำหลากสายพันธุ์ที่มีให้ได้ชมกันอยู่โดยตลอด ส่วนในฤดูหนาวก็จะมีนอพยพจากทางตอนเหนือของโลกมาอาศัยอยู่รอบบึงแห่งนี้
อ่านต่อ
ตลาดร้อยปีชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
ตลาดร้อยปีชุมแสง (Chum Saeng 100 Years Market) ชุมชนตลาดใกล้สถานีรถไฟชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ที่มีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี กับบรรยากาศที่ยังคงอบอวลไปด้วยความสวยงามคลาสสิก และของกินอร่อยๆ ให้ได้ลิ้มลอง
อ่านต่อ
พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เมื่อมาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) (King Ramathibodi 1 Monument) ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ไม่ควรพลาดมาสักการะปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกรุงเก่า
อ่านต่อ
11 สถานที่เที่ยวยอดนิยมในจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
จังหวัดพิษณุโลกตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ภูเขาและป่าไม้ขนาดใหญ่จึงมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะหน้าผา น้ำตก และทุ่งดอกไม้ภายในอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้จังหวัดพิษณุโลกยังเป็นเมืองประวัติศาสตร์อีกด้วย โดยมีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีว่าพื้นที่บริเวณนี้มีการตั้งรกรากมาตั้งแต่ก่อนกรุงสุโขทัย ด้วยเหตุนี้จังหวัดพิษณุโลกจึงมีโบราณสถานและวัดวาอารามเก่าแก่ให้เที่ยวชมอีกด้วย ทาง Palanla จึงได้รวบรวม 11 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดพิษณุโลกมาฝากทุกท่านกันวันนี้เพื่อเป็นแนวทางในการท่องเที่ยวในวันหยุดครั้งหน้ากัน
อ่านต่อ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (Thung Salaeng Luang National Park) อุทยานฯ เก่าแก่อันดับ 3 ของประเทศ ฉายา “ทุ่งหญ้าสะวันนาเมืองไทย” กับพื้นที่กว้างขวางครอบคลุม 2 จังหวัด อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด
อ่านต่อ
ชิงช้าต้นไม้ บ้านสวนชมวิวภูรักไทย จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
ชิงช้าต้นไม้ บ้านสวนชมวิวภูรักไทย (Wooden Swing at Ban Suan Chom View) จุดชมวิวบนต้นไม้ที่สามารถชมวิวสวยๆ ของทิวเขาและพื้นที่ราบรอยต่อของ 5 จังหวัด
อ่านต่อ
จุดชมวิวเขาตะเคียนโง๊ะ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย
จุดชมวิวเขาตะเคียนโง๊ะ (Khao Ta Kean Ngo View Point) ฐานที่มั่นของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หรือสมรภูมิรบภูมิเขาค้อในอดีต ปัจจุบันถือเป็นจุดชมวิว 360 องศาที่มีความสวยงามมากอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์
อ่านต่อ