- หน้าแรก
- ท่องเที่ยวในประเทศ
- พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
- อ่าน (8,568)
- ByWebmaster
- 12:08:06 | 14 พ.ย. 2562
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
Three Kings Monument, Chiang Mai Province, Thailand
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่หน้าหอศิลปะกลางเมืองเชียงใหม่
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ (Three Kings Monument) อนุสาวรีย์ของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่สามพระองค์แห่งล้านนา คือ พญางำเมือง พญามังราย และพญาร่วง เป็นมิตรสหายที่ได้กระทำสัตย์สาบานว่าจะไม่ทำร้ายกันและกันตลอดไป มีลักษณะเป็นประติมากรรมลอยตัวเสมือนคนจริง ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่อย่างสง่างาม เป็นแลนด์มาร์กแห่งหนึ่งที่หากใครได้มาเมืองเชียงใหม่ต้องไม่พลาดมาสักการะสักครั้ง
แผนที่พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ประวัติ
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ (Three Kings Monument) เป็นอนุสาวรีย์ของกษัตริย์ล้านนาสามพระองค์ ตั้งอยู่ด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ พญางำเมือง ประสูติเมื่อปีจอ พ.ศ. 1780 ปกครองเมืองพะเยาต่อจากพระบิดาคือพญามิ่งเมืองเมื่อ พ.ศ. 1800 และได้ศึกษาวิชาการกับพญาร่วงจนเป็นสหายสนิทกัน ทั้งสองพระองค์ต่างมีกุศโลบายในการผูกมิตรกับอาณาจักรใกล้เคียง ปกครองบ้านเมืองด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 1860 เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา
พญามังราย (เม็งราย) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 1782 ครองเมืองเงินยาง อาณาจักรเชียงแสน สืบต่อจากพระบิดาคือพญาลาวเม็งเมื่อ พ.ศ. 1802 ทรงเป็นผู้รวบรวมแคว้นและเมืองต่างๆ เข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์มังรายและได้ทรงตรากฎหมายที่เรียกว่า “มังรายศาสตร์” เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 1854 พระชนมายุ 72 พรรษา ราชวงศ์มังรายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนาสืบต่อมาอีก 17 พระองค์
พญาร่วง หรือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย โอรสองค์ที่สามของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงเป็นผู้มีความเก่งกล้าสามารถมาก เมื่อมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษาได้ทรงทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ขยายพระราชอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง และพระองค์ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรลายสือไทยที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันด้วย พระองค์ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 1822 และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 1842
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญางำเมือง พญาเม็งราย และพญาร่วง
กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ได้ทรงกระทำสัตย์สาบาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำอิง ด้วยการดื่มโลหิตจากนิ้วพระหัตถ์สัญญาว่าจะเป็นมิตรสนิทและไม่เป็นศัตรูต่อกันตลอดไป เมื่อพญาเม็งรายสร้างเมืองเชียงราย เมืองฝาง และเวียงกุมกามแล้ว ทรงได้พบชัยภูมิที่ดีและเป็นมงคลนั่นคือบริเวณที่ราบริมแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพ จึงเชิญพระสหายทั้งสองมาร่วมปรึกษาหารือในการสร้างเมืองซึ่งมีพื้นที่กว้าง 900 วา ยาว 1,000 วา แล้วตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามพระองค์ ประชาชนชาวเชียงใหม่จึงร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2526 โดยมีอาจารย์ไข่มุกต์ ชูโตเป็นผู้ออกแบบสร้างขึ้นด้วยวัสดุทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ใช้เวลาในการสร้างรวม 10 เดือน และที่บริเวณสี่แยกถนนพระปกเกล้าตัดกับถนนราชดำเนินมีหอพญาเม็งรายที่ชาวเชียงใหม่ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พญาเม็งรายหลังจากที่พระองค์ทรงต้องอสนีบาตเสด็จสวรรคตที่กลางเมืองเชียงใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1854
ป้ายหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ที่มีอักษรลายสือไทยด้วย
อาคารราชการด้านซ้ายของพระบรมราชานุสาวรีย์
ศาลแขวงเมืองเชียงใหม่
อนุสรณ์สถานหอพญามังรายที่ชาวเชียงใหม่ร่วมกันสร้างขึ้น
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ตั้งอยู่ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
การเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่
- เครื่องบิน นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยเครื่องบินจากท่าอากาศยานดอนเมืองหรือจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มาลงที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 – 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการเดินทางที่สะดวกสบายและใช้เวลาน้อยที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายการบินที่ให้บริการได้ที่ https://chiangmai.airportthai.co.th/th
- รถโดยสารประจำทาง เป็นบริการขนส่งสาธารณะที่เป็นที่นิยมเพราะมีผู้ให้บริการมาก ทั้งยังมีจำนวนรอบและเวลาให้เลือกได้ตามสะดวก นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปลงที่สถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ให้บริการ ตารางเวลา ราคาตั๋ว และจองออนไลน์ได้ที่ https://www.busticket.in.th หรือ https://www.thairoute.com/ หรือโทร. Call center 1490, 0-2872-1777, Line ID : @bus999
- รถไฟ สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลาพักผ่อนระยะยาวและต้องการชมทิวทัศน์ระหว่างทาง สามารถเลือกใช้บริการรถไฟได้ ซึ่งการเดินทางต้องใช้เวลาประมาณ 11 - 13 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตารางเวลา ราคาตั๋ว และจองออนไลน์ได้ที่ http://www.railway.co.th/ หรือโทร. Call center 1690
- รถยนต์ จากทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร มุ่งสู่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร
การเดินทางไปพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์
- รถยนต์ จากสถานีขนส่งเชียงใหม่ อาเขต 1 (สถานีช้างเผือก) ไปยังพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ระยะทางประมาณ 1.8 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 6 นาที / จากท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 5.1 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 13 นาที / จากสถานีรถไฟเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 4.1 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 13 นาที
- รถบริการสาธารณะ จากสถานีขนส่งเชียงใหม่, ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือสถานีรถไฟเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถสาธารณะ ได้แก่ รถแดงที่วิ่งรอบเมืองเชียงใหม่โดยราคาขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง, Grab Taxi เรียกใช้บริการโดยโหลด Application Grab เพื่อใช้คำนวณระยะทางและค่าบริการ, Taxi สามารถจองออนไลน์ได้ที่ https://www.cnxtaxichiangmai.com/
มอเตอร์ไซค์เช่า เที่ยวในเมืองเชียงใหม่ราคาอยู่ที่ประมาณ 200 บาท / วัน, รถยนต์เช่า เริ่มต้นที่ประมาณ 750 บาท / วัน
เวลาทำการเปิด – ปิด
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตลอดเวลา
ลานกว้างด้านหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่เรียกว่าข่วงสามกษัตริย์
อัตราค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
จุดท่องเที่ยวที่สำคัญของพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์
อนุสาวรีย์แห่งนี้ถือเป็นแลนด์มาร์กแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ของสามกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สร้างเมืองเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนา เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และถ่ายรูปได้ตลอดเวลา
กษัตริย์ผู้เป็นมหาราชทั้งสามพระองค์แห่งอาณาจักรล้านนา
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว
ตลอดปี ทุกฤดูกาล
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
(Three Kings Monument, Chiang Mai Province, Thailand)
ระดับความนิยม :
อัตราค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม
เวลาเปิด – ปิด : ทุกวัน ตลอดเวลา
ตั้งอยู่ที่ : หน้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ : -
เว็บไซต์ : -
ข้อมูลอื่นๆที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ http://www.tourismchiangmai.org
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ https://chiangmai.mots.go.th
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
วัดป่าแดด จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
วัดป่าแดด (Wat Pa Daed) เป็นอีกหนึ่งวัดดังของเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการไหว้ขอพรองค์พระพิฆเนศแห่งความสำเร็จ องค์ท้าวเวสสุวรรณ และหลวงพ่อตาหวาน พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารหลวงลายคำ
อ่านต่อตลาดม้งบ้านขุนกลาง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ตลาดม้งบ้านขุนกลาง (Hmong Market (Baan Khun Klang) เป็นจุดแวะพักยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มุ่งหน้าสู่ยอดเขาสูงสุดของประเทศไทย เพราะเป็นแหล่งช้อปปิ้งผลิตผลสดๆ ตามฤดูกาล รวมถึงของที่ระลึกและสินค้าพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าม้ง
อ่านต่อขัวเหล็ก จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ขัวเหล็ก (Khua Lek (Iron Bridge)) เป็นสะพานโครงเหล็กโดดเด่นมีเอกลักษณ์ ที่กรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ ทอดตัวข้ามแม่น้ำปิงที่ไหลเอื่อยผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ คืออีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวถ่ายภาพที่น่าสนใจ
อ่านต่อน้ำตกห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
น้ำตกห้วยแก้ว (Huay Kaew Waterfall) เป็นน้ำตกขนาดกลาง แวดล้อมไปด้วยความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่
อ่านต่อ8 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย
จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดทางภาคเหนือที่เต็มไปด้วยวัดสวยๆ หลายแห่งที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมล้านนาอย่างงดงาม และยังเป็นที่ตั้งของวนอุทยานภูลังกาที่มีธรรมชาติอันสวยงามและอุดมสมบูรณ์ รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อย่างกว๊านพะเยาให้เที่ยวชมอีกด้วย วันนี้ทาง Palanla จึงได้รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดพะเยามาฝากทุกท่านเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทริปเที่ยวเหนือกันในวัดหยุดที่กำลังจะมาถึงนี้
อ่านต่อวัดพระนั่งดิน จังหวัดพะเยา ประเทศไทย
วัดพระนั่งดิน (Wat Phra Nang Din) เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพะเยา ไฮไลท์ของวัดแห่งนี้อยู่ที่องค์พระประธานภายในวิหารของวัด นามว่าพระเจ้านั่งดินที่ประดิษฐานอยู่บนพื้น ซึ่งต่างจากพระพุทธรูปทั่วไปที่ต้องประดิษฐานอยู่บนฐาน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในอดีตเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ไม่มีใครสามารถยกพระพุทธรูปขึ้นได้ แม้ต่อมาในยุคสมัยใหม่จะสามารถยกขึ้นประดิษฐานบนฐานได้ แต่หลังจากนั้นก็เกิดฟ้าผ่าลงหลังคาวิหารถึงสามครั้งจนต้องอัญเชิญพระพุทธรูปนี้ลงมาประดิษฐานไว้บนพื้นเช่นเดิม วัดแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและผู้มีจิตศรัทธาเป็นอย่างมาก
อ่านต่อจุดชมวิวภูลังกา จังหวัดพะเยา ประเทศไทย
จุดชมวิวภูลังกา (Phu Lanka Viewpoint) เป็นจุดชมวิวภายในวนอุทยานภูลังกาซึ่งเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอำเภอเชียงคำและอำเภอปง ไฮไลท์ของจุดชมวิวนี้อยู่ที่สามารถชมทัศนียภาพของภูเขาและหน้าผาต่างๆ ได้แบบพาโนรามา มีความสวยงามแตกต่างกันไปตามแต่ละฤดูกาลและชมวิวได้ไกลถึงฝั่งลาว โดยช่วงเวลาที่ได้รับการยอมรับว่าสวยที่สุดคือช่วงปลายฝนต้นหนาวที่มีทะเลหมอกล่องลอยท่ามกลางยอดดอยและหน้าผา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมที่สุดในจังหวัดพะเยา
อ่านต่อ๑๒ วัดสวยในภาคเหนือ พุทธศิลป์แห่งอาณาจักรล้านนา
ภาคเหนือ เป็นหนึ่งในภูมิภาคของประเทศไทย ที่มีวิถีชีวิตของชาวพื้นเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียบง่าย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ และมีชื่อเสียงอยู่มากมาย รวมไปถึงมีผลงานพุทธศิลป์แบบล้านนาสุดแสนจะวิจิตร ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบของสถาปัตยกรรมและประติมากรรมในวัดวาอารามต่าง ๆ เป็นเอกลักษณ์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวแวะมากราบสักการะ พร้อมชื่นชมผลงานศิลปะล้านนาที่อ่อนช้อย และทรงคุณค่า วันนี้ Palanla จึงจะขอชวนออกเดินทางไปเที่ยวชม และรับสิริมงคลกับ 12 วัดสวยในภาคเหนือกันค่ะ
อ่านต่ออุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (Doi Inthanon National Park) สถานที่ท่องเที่ยวอันมีชื่อเสียงประจำจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานที่สวยงาม และแวดล้อมไปด้วยทิวเขาสูงสลับซับซ้อน น้ำตก ถ้ำ ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนในทุกๆปี
อ่านต่ออุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า (Phu Chi Fa National Park) ผืนป่าบนยอดดอยที่มีจุดชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ที่มีความสวยงามติดอันดับต้นๆ ของเมืองไทย
อ่านต่อ