อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย

  • อ่าน (4,900)
  • ByWebmaster
  • 10:53:58 | 8 พ.ค. 2564

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย

Phu Prabhat Historical Park, Udon Thani, Thailand

             อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (Phu Prabhat Historical Park) หนึ่งในสถานที่ที่เที่ยวที่ไม่ควรพลาดของจังหวัดอุดรธานี เพราะนอกจากรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนเทือกเขาแห่งนี้แล้ว ยังมีเสาหินและเพิงหินขนาดใหญ่ที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติที่กัดเซาะมาเป็นเวลาหลายล้านปีกระจายตัวอยู่ทั่วไป เป็นสภาพภูมิประเทศที่สวยงามแปลกตา


ประวัติ

             อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บนเขา “ภูพระบาท” ภูเขาขนาดย่อมลูกหนึ่งของเทือกเขาภูพาน อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีชื่อว่า “ป่าเขือน้ำ” บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ชื่อ “ภูพระบาท” มีที่มาจากรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนเทือกเขาแห่งนี้ และภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทยังมีเสาหินและเพิงหินขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่ทั่วไป เพิงหินเหล่านี้เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติที่กัดเซาะมาเป็นเวลาหลายล้านปี จึงทำให้สภาพภูมิประเทศแปรเปลี่ยนเป็นเสาหินและเพิงหินรูปร่างสวยงามแปลกตาเช่นในปัจจุบัน

             อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทปรากฏร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ราว 2,000 – 3,000 ปีมาแล้ว โดยพบภาพเขียนสีมากกว่า 30 แห่ง ยังพบการดัดแปลงโขดหินและเพิงผาธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดี ลพบุรี สืบต่อกันมาจนถึงวัฒนธรรมล้านช้าง ตามลำดับ ซึ่งร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ทางกรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนจำนวน 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 จากนั้นจึงได้พัฒนาจนกลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในที่สุด

             สภาพภูมิประเทศของภูพระบาทมีลักษณะเป็นโขดหินและเพิงผาที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินทรายกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีเนื้อหินที่แข็งแกร่งแตกต่างกัน ระหว่างชั้นของหินที่เป็นทรายแท้ๆ ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก กับชั้นที่เป็นทรายปนปูนซึ่งมีความแข็งแกร่งน้อยกว่า นาน ๆ ไปจึงเกิดเป็นโขดหิน และเพิงผารูปร่างแปลกๆ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

             ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 2,000 - 3,000 ปีมาแล้ว วิถีชีวิตของผู้คน ในสมัยนั้นดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าและล่าสัตว์เป็นอาหาร เมื่อขึ้นมาพักค้างแรม อยู่บนโขดหินและเพิงผาธรรมชาติเหล่านี้ก็ได้ใช้เวลาว่างขีดเขียนภาพต่างๆ เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพฝ่ามือ ตลอดจนภาพลายเส้นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้บนผนังเพิงผาที่ใช้พักอาศัย ซึ่งปรากฏอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นจำนวนมาก เช่น ที่ถ้ำวัว – ถ้ำคน และภาพเขียนสีโนนสาวเอ้ ซึ่งภาพเขียนสีบนผนังหินเหล่านี้ยังคงเป็นปริศนาให้ผู้คนในชั้นหลังค้นหาความหมายที่แท้จริงต่อไป


โบราณสถานที่น่าสนใจภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อาทิ

             หอนางอุสา ถือเป็นสัญลักษณ์ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีลักษณะเป็นเพิงหินธรรมชาติขนาดใหญ่ที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ มีความสูง 10 เมตร รูปร่างคล้ายดอกเห็ด ตั้งอยู่กลางลานหินโล่งกว้างทำให้ดูโดดเด่นกว่าโบราณสถานจุดอื่นๆ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า หอนางอุสามีอายุเก่าแก่ถึงสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 โดยถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพุทธศาสนา ด้านบนหอนางอุสามีการก่อผนังด้วยก้อนหินทราย และสกัดเนื้อหินข้างในให้กลายเป็นห้องคูหา สันนิษฐานว่าด้านในอาจใช้เป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธ์ หรือ เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


หอนางอุสา


             
ถ้ำพระ
 มีลักษณะเป็นเพิงหินเตี้ยๆ รูปร่างแคบยาว ถูกดัดแปลงให้เป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ หลักฐาน คือ ที่ผนังใต้เพิงหินมีการสลักเป็นรูปพระพุทธรูปอยู่รอบด้าน ทั้งพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางสมาธิประทับนั่งอยู่ในซุ้มหน้าบัน พระพุทธรูปยืนขนาดเล็กยืนเรียงกัน 6 องค์ และพระพุทธรูปปางต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วทั้งผนังเพิง ซึ่งนักวิชาการระบุว่าพระพุทธรูปสลักเหล่านี้มีรูปแบบศิลปกรรมผสมผสานกันระหว่างศิลปะสมัยทวารวดีและศิลปะเขมร (ศิลปะลพบุรี) จึงสันนิษฐานว่าศาสนสถานแห่งนี้น่าจะมีอายุช่วงสมัยปลายทวารวดี – สมัยลพบุรี ซึ่งเป็นช่วงที่ศิลปะเขมรเริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นและแพร่กระจายเข้ามาในดินแดนประเทศไทย  


ถ้ำพระ


             
กู่นางอุสา
(กี่นางอุสา) มีลักษณะเป็นเพิงหินธรรมชาติมีขนาดกว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 4 เมตร  หลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏอยู่มีสองสมัยคือหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนสีบนผนังด้านตะวันตก และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์คือหลุมสกัดพื้นที่ใต้เพิงซึ่งน่าจะใช้ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระพุทธรูปและใบเสมาหินที่ปักอยู่ทั้ง 8 ทิศ และพบหลุมเสากลมเรียงเป็นกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบแนวใบเสมาอีกชั้นหนึ่ง (อาจเป็นหลุมเสารั้ว)


กู่นางอุสา


บ่อน้ำนางอุสาที่อยู่ใกล้ๆ กัน


             
วัดพ่อตา
เป็นเพิงหินที่ถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และใช้ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 เป็นต้นมาที่บริเวณผนังหิน ตรงส่วนแกนกลางและพื้นหินด้านล่างมีรอยการสกัดหิน จนกลายเป็นห้องโล่งขนาดใหญ่อยู่โดยรอบแกนหิน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเจาะหลุมกลมหลายหลุมเรียงกันไปตามแนวลานหินด้านนอก สันนิษฐานว่าใช้สำหรับปักเสาไม้เพื่อกั้นด้วยเครื่องไม้ใช้เป็นผนังห้อง บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของห้องที่ผนังแกนหินด้านใน มีร่องรอยการระบายสีแดงเป็นประภามณฑลของพระพุทธรูป 3 องค์เรียงต่อกัน สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ ณ ตำแหน่งนี้แต่ปัจจุบันได้ถูกทำลายแตกหักไปหมดแล้ว ถัดไปทางทิศใต้ประมาณ 5 เมตร เป็นที่ตั้งของเพิงขนาดเล็กเรียกว่า “โบสถ์วัดพ่อตา” หรือ “ถ้ำวัดพ่อตา” ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้น 3 องค์ (สร้างใหม่) และเป็นที่เก็บชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินจำนวนหนึ่ง สำหรับด้านนอกมีการก่อผนังหินขึ้นมาใหม่


วัดพ่อตา


วัดพ่อตา


วัดพ่อตา

             นอกจากนี้ตามเพิงหินบางเพิงภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทยังมีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีแดงต่อเนื่องกัน มีทั้งภาพลายเส้นคู่ขนาน ลายหยักฟันปลา ลายวงคด ลายทางมะพร้าว ลายสี่เหลี่ยมต่อกันเป็นแถวยาว ลายขีดเป็นบั้ง ฯลฯ และที่เขียนด้วยสีขาวเป็นรูปสัตว์เช่นช้าง หงส์ ม้า และลายเส้นอื่นๆ กระจายไปทั่วไม่ต่อเนื่องด้วยเช่นกัน


การเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี

             - เครื่องบิน (Flight) การเดินทางโดยเครื่องบินจากสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ไปสนามบินจังหวัดอุดรธานีใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

             - รถยนต์ (Car/ Bus) การเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดอุดรธานี มีระยะทาง 576 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง  

             - รถไฟ (Train) การเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดอุดรธานี ใช้เวลาเร็วสุดประมาณ 10 ชั่วโมง ทั้งนี้อาจใช้เวลานานกว่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทของรถไฟ


การเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

             อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว หมู่ที่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานีประมาณ 73  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 1 ชั่วโมง 30 นาที  


เวลาทำการเปิด– ปิด

             เปิดทุกวัน เวลา 8.30 – 16.30 น.


อัตราค่าเข้าชม

             ชาวไทยราคา 10 บาท ชาวต่างชาติ ราคา 30 บาท


ช่องทางเดินกว้างขวางใต้เพิงหิน 


สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

             ชมเพิงหินรูปทรงต่างๆ และภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์


คอกม้าท้าวบารส


เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว

             สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี


             
นักท่องเที่ยวที่สนใจไปเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สามารถศึกษา ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

                        อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย

                        (Phu Prabhat Historical Park, Udon Thani, Thailand)

                        ระดับความนิยม : 

                        อัตราค่าเข้าชม :  ชาวไทยราคา 10 บาท ชาวต่างชาติ ราคา 30 บาท

                        เวลาทำการเปิด – ปิด : เปิดทุกวัน เวลา 8.30 – 16.30 น.

                        ตั้งอยู่ที่ : บ้านติ้ว หมู่ที่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

                        โทรศัพท์ : (+66) 0 4225 0616, 0 4225 1350

                        เว็บไซต์ : -

                        ข้อมูลอื่นๆ ที่ควรรู้ : พยากรณ์อากาศ https://www.accuweather.com 

                                       ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี https://udonthani.mots.go.th

                                       ศูนย์ข้อมูลการเดินทางจังหวัดอุดรธานี https://www.dlt.go.th/site/udonthani/m-about/6907

                                       ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวประเทศไทย https://thai.tourismthailand.org

 

สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ

5 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดยโสธร ประเทศไทย

จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชี จังหวัดยโสธรมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมหลายแห่ง เพราะเป็นเมืองที่ผ่านประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยทวาราวดี วันนี้ทาง Palanla จึงได้รวบรวมสถานที่ที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดยโสธรมาฝากทุกท่านไว้ในบทความนี้

อ่านต่อ

วัดพระพุทธบาทยโสธร จังหวัดยโสธร ประเทศไทย

วัดพระพุทธบาทยโสธร (Wat Phra Buddhabat Yasothon) เป็นวัดที่มีความสวยงามจากหมู่อาคารสีขาวท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนนิยมมาเที่ยวชมวัดและสักการะโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาอันได้แก่ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปปางนาคปรก และศิลาจารึกโบราณที่มีอายุราวห้าร้อยปี รวมทั้งพระพุทธรูปหยกขาวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ และพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ภายในเจดีย์ของวัดอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งวัดดังของจังหวัดยโสธรที่ควรค่าต่อการมาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง

อ่านต่อ

8 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดในภาคอีสานตอนล่างที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นจุดชมวิวอันน่าประทับใจ ไปจนถึงแหล่งโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และวัดวาอารามที่สร้างขึ้นอย่างงดงามให้เที่ยวชม วันนี้ทาง Palanla ได้รวบรวม 8 สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ของจังหวัดศรีเกษมาฝากทุกท่านกันในบทความนี้

อ่านต่อ

ผามออีแดง จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

ผามออีแดง (Pha Mor E Daeng) เป็นหน้าผาที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นปราสาทเขาพระวิหาร ป่าไม้ และบ้านเมืองของกัมพูชาที่อยู่ไกลออกไปได้ ในยามเช้าของช่วงปลายฝนต้นหนาวจะเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงาม ส่วนในยามพระอาทิตย์ตกดินจะมองเห็นฝูงค้างคาวบินออกมาจากถ้ำเพื่อหากิน นอกจากนี้ อีกหนึ่งไฮไลท์ของผามออีแดงคือภาพจิตรกรรมโบราณที่ถูกสลักไว้ริมหน้าผาซึ่งมีความเก่าแก่กว่าหนึ่งพันห้าร้อยปีทีเดียว ถือเป็น Unseen Thailand ที่คุ้มค่าต่อการมาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง

อ่านต่อ

น้ำตกสำโรงเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

น้ำตกสำโรงเกียรติ (Samrong Kiat Waterfall) เป็นน้ำตกที่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด น้ำตกแห่งนี้มีเอกลักษณ์ตรงที่บริเวณด้านบนหน้าผาจะมีแอ่งลานหินขนาดใหญ่รองรับธารน้ำเอาไว้ก่อนที่จะไหลตกลงมาตามชั้นหน้าผา น้ำตกสำโรงเกียรติมีน้ำไหลตลอดปี และจะมีน้ำมากที่สุดในช่วงฤดูฝน บรรยากาศโดยรอบมีความร่มรื่นจากป่าไม้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับการมาเล่นน้ำ นั่งพักผ่อนหย่อนใจ และถ่ายภาพสวยๆ ได้อย่างเพลิดเพลิน

อ่านต่อ

เกาะกลางน้ำ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

เกาะกลางน้ำ (Koh Klang Nam) เป็นเกาะที่อยู่ใจกลางอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำคำในอำเภอเมืองศรีสะเกษ บนเกาะแห่งนี้เป็นสวนสาธาณะขนาดใหญ่และเป็นที่ตั้งของอาคารสำคัญหลายแห่ง เช่น หอศรีลำดวนเฉลิมพระเกียรติที่เป็นหอชมเมืองศรีสะเกษได้รอบทิศ และศรีสะเกษอควาเรียมซึ่งเป็นศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นี่จึงเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของจังหวัดศรีสะเกษอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาเที่ยวชมเป็นอย่างมาก

อ่านต่อ

วัดบุไผ่ (วัดบ้านไร่ 2) จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

วัดบุไผ่ (วัดบ้านไร่ 2) Wat Bu Pai (Wat Ban Rai 2) เป็นวัดที่ตั้งตระหง่านบนเนินเขาในอำเภอวังน้ำเขียว ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ หรือ พระเทพวิทยาคม พระเกจิดังวัดบ้านไร่องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

อ่านต่อ

วัดแสงธรรมวังเขาเขียว จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

วัดแสงธรรมวังเขาเขียว (Wat Saeng Tham Wang Khao Khiao) เป็นที่ตั้งของพระมหาเจดีย์ศรีแสงธรรมวิสุทธิมงคล พระมหาเจดีย์รูปทรงดอกบัวสีขาวตั้งตระหง่านสง่างามอยู่กลางคูน้ำ ท่ามกลางสวนหย่อมสีเขียวขนาดใหญ่และแวดล้อมด้วยหุบเขาสีเขียวขจีของอำเภอวังน้ำเขียว

อ่านต่อ

ผาเก็บตะวัน จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

ผาเก็บตะวัน (Pha Kep Tawan) หนึ่งในที่เที่ยววังน้ำเขียวที่เป็นจุดชมวิวที่มีทัศนียภาพสวยงาม แวดล้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะแก่การแวะมาชมวิวผ่อนคลาย หรือหากต้องการกางเต็นท์ค้างคืนก็ได้เช่นกัน

อ่านต่อ

วัดป่าโนนสวรรค์ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย

วัดป่าโนนสวรรค์ (Wat Pa Non Sawan) เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในวัดมีความน่าตื่นตาตื่นใจของประติมากรรมปูนปั้นมากมายที่ถ่ายทอดเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ พระธรรมคำสอน รวมถึงวรรณคดีไทยชื่อดังต่างๆ ให้ได้เดินเที่ยวชม และภายในวัดยังโดดเด่นด้วยองค์เจดีย์ขนาดใหญ่ที่ตกแต่งอย่างงดงาม รวมถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้หม้อดินมาประดับในส่วนต่างๆ โดยรอบจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว วัดแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ดที่ไม่ควรพลาดชม

อ่านต่อ
สถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ